อมนุษย์และการเกิดใหม่ในพระศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 127
หน้าที่ 127 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงแนวความคิดเกี่ยวกับอมนุษย์ในพระพุทธศาสนา โดยระบุว่าอมนุษย์ที่อยู่ในสุคติภูมิ ได้แก่ เทวดาและพรหม ส่วนในทุคติภูมิต่างๆ เช่น เปรต สัตว์นรก และสัตว์ดิรัจฉานคือผลจากการทำอกุศลกรรมในชีวิตมนุษย์ ก่อนการเกิดใหม่เป็นสิ่งมีชีวิตในสถานะต่างๆ โดยการเป็นมนุษย์นับว่าเป็นทรัพยากรหนึ่งที่ดีในการสร้างกุศลกรรม นอกจากนี้ ยังมีการเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของการทำกรรมดีและกรรมชั่วยามเป็นมนุษย์และชาวสวรรค์ รวมถึงบทบาทของสัตว์ดิรัจฉานที่มีโอกาสสั่งสมบุญได้บ้างแต่มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ ซึ่งสุดท้ายแล้วเป้าหมายสูงสุดของทุกชีวิตคือการเข้าสู่พระนิพพาน ที่เป็นธรรมที่ทุกชีวิตควรคำนึงถึงในฐานะที่มีการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่สิ้นสุด.

หัวข้อประเด็น

-อมนุษย์
-การเกิดใหม่
-สุคติ
-ทุคติ
-กุศลกรรม
-อกุศลกรรม
-พระนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สิ่งมีชีวิตที่กล่าวมาข้างต้นนี้คืออดีตมนุษย์ทั้งสิ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าสิ่งมี ชีวิตเหล่านี้คือ “อมนุษย์” หมายถึง ไม่ใช่มนุษย์ อมนุษย์ที่อยู่ในสุคติภูมิคือ เทวโลก และพรหมโลก นั้นคืออดีตมนุษย์ที่ได้ทำกุศลกรรมเอาไว้ หลังจากตายจากการเป็นมนุษย์แล้วจึงไปเกิดในสุคติ ภูมินั้น ๆ ส่วนอมนุษย์ที่อยู่ในทุคติภูมิคือ เปรต อสุรกาย สัตว์นรก รวมทั้งสัตว์ดิรัจฉานคือ อดีตมนุษย์ที่ได้ทำอกุศลกรรมเอาไว้หลังจากตายจากการเป็นมนุษย์แล้วจึงไปเกิดในทุคติภูมินั้นๆ การเป็นมนุษย์จึงเป็นจุดศูนย์กลางของการจะไปเกิดสุคติหรือทุคติ กล่าวคือ หากทำดี ไว้มาก ทำบุญไว้มาก สร้างกุศลกรรมไว้มาก ก็จะมีโอกาสได้ไปเกิดยังสุคติภูมิ แต่ถ้าหาก ทำความชั่วไว้มาก สร้างอกุศลกรรมไว้มาก ก็จะมีโอกาสได้ไปเกิดยังทุคติภูมิ การเป็นมนุษย์เป็นเพศภาวะที่สั่งสมบุญบารมีได้อย่างเต็มที่และสะดวกที่สุด เพราะมี กายหยาบ คือ กายมนุษย์ทำให้การประกอบกุศลกรรมต่างๆ ให้ผลมาก โดยเฉพาะหากได้เกิด มาพบพระพุทธศาสนาก็ยิ่งเป็นบุญลาภอย่างยิ่ง เพราะทำให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ และ มีโอกาสทำบุญถูกเนื้อนาบุญซึ่งเป็นเหตุให้ได้บุญมาก แต่ในทางกลับกันหากได้ภาวะกาย มนุษย์แล้วไปทำบาปเข้าผลบาปก็จะมากมหาศาลเช่นกัน ส่วนการเป็นชาวสวรรค์นั้นจะเป็นกายละเอียด ผลจากการกระทำจึงไม่แรงเท่าขณะ เป็นมนุษย์ กล่าวคือ เทวดาก็สามารถรักษาศีลและนั่งสมาธิได้ แต่ผลจากการปฏิบัติจะได้ไม่ เท่ากับที่ทำในขณะเป็นมนุษย์ แต่เรื่องการให้ทานนั้นชาวสวรรค์ทำได้ยาก เพราะไม่อาจจะ แบ่งทิพยสมบัติแจกจ่ายแก่กันและกันได้ เนื่องจากทิพยสมบัติทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ของบุญ หากใครไม่มีบุญก็ไม่อาจจะรองรับทิพยสมบัติได้ เหล่าเทวดาผู้ต้องการสั่งสมบุญด้วย การให้ทาน จึงต้องหาโอกาสลงมายังโลกมนุษย์ เช่น ท้าวสักกเทวราช เป็นต้น ท่านเคยแปลง ร่างเป็นคนชราเพื่อลวงใส่บาตรพระมหากัสสปเถระ แต่ก็ถูกพระเถระตำหนิว่า พระองค์แย่งสมบัติ ของคนจน พระมหากัสสปะต้องการจะโปรดมนุษย์ผู้ขัดสนมากกว่า เนื่องจากวันนั้นท่านเพิ่ง ออกจากนิโรธสมาบัติ หากใครก็ตามได้ใส่บาตรกับท่านก็จะได้เป็นเศรษฐีประจำเมือง ส่วนสัตว์ดิรัจฉานนั้นอาจจะสั่งสมบุญได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่จะต้องเป็นสัตว์ที่มีดวง ปัญญามาก เช่น พระโพธิสัตว์ที่เสวยพระชาติเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้ว สัตว์ดิรัจฉานไม่มีดวงปัญญาพอที่จะสั่งสมบุญได้ สำหรับสัตว์นรก เปรต และอสุรกายต่าง ๆ นั้น ยังไม่สามารถสั่งสมบุญได้ เพราะอยู่ในภาวะที่ต้องรับผลของอกุศลกรรมที่ทำไว้สมัยเป็นมนุษย์ ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย คือ การเข้าสู่พระนิพพาน การจะไปถึงได้ 116 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More