ข้อความต้นฉบับในหน้า
คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ข้าพระองค์ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไปจนตลอดชีวิต
1.2) แสดงธรรมแก่ชาวนาโดยใช้ภาษาชาวนา
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่โรงเลี้ยงอาหารของกสิภารทวาช
พราหมณ์ เมื่อพราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ
ข้าพเจ้าไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว ย่อมบริโภค แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถ
และหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด
ภ. (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว
ก็บริโภค
โคดมเลย
ก. กสิภารทวาชพราหมณ์) ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก หรือ โค ของท่านพระ
ภ. ตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริ
เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครอง
แล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้าคือวาจาสับปรับด้วยคำสัตย์
โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้เสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวัง นำไปถึง
ความเกษมจากโยคะไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก เราทำนาอย่างนี้ นาที่เรา
ทำนั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลทำนาอย่างนี้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ในเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบธรรมะด้วยสิ่งที่เกี่ยวกับการทำนา จึงทำให้
พราหมณ์เข้าใจได้ง่าย ด้วยเหตุนี้กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไปจนตลอดชีวิต
1.3) แสดงธรรมแก่คนฝึกม้าโดยใช้ภาษาคนฝึกม้า
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามสารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสีว่า ดูก่อนเกสี ท่านฝึกหัดม้า
ที่ควรฝึกอย่างไร นายเกสีกราบทูลว่า ข้าพระองค์ฝึกหัดมาที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรง
บ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง
ภ. (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ดูก่อนเกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่านไม่เข้าถึงการฝึกหัดด้วย
วิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ท่านจะทำอย่างไรกะมัน
- กสิสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 25 ข้อ 671-676 หน้า 243-246.
บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
DOU 249