ข้อความต้นฉบับในหน้า
วิภัชชพยากรณียปัญหา ได้แก่ ถ้าถูกถามว่า ดวงตาหรือชื่อว่าไม่เที่ยง? คำถามนี้จะ
ต้องจำแนกแล้วตอบอย่างนี้ว่า ไม่ใช่เฉพาะดวงตาเท่านั้นที่ไม่เที่ยง แม้แต่ หู จมูก ลิ้น และทุก
ส่วนของร่างกายก็ไม่เที่ยงเช่นเดียวกัน
ฐปนียปัญหา คือ ปัญหาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้างดตอบ เป็น ปัญหาที่ไม่มีประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน ได้แก่ ปัญหาที่ว่าโลกเที่ยง
หรือไม่เที่ยง เป็นต้น เพราะแม้พระองค์จะตอบว่า “โลกเที่ยง” หรือ “โลกไม่เที่ยง” ก็ไม่มีผลต่อ
การบรรลุมรรคผลนิพพานของคนถาม
หากพระพุทธองค์ทรงตอบคำถามที่ไม่มีประโยชน์เหล่านี้ครั้งหนึ่งแล้ว ชาวโลกก็จะพา
กันมาถามปัญหาไร้สาระอีกมากมาย
ทำให้พระองค์ต้องเสียเวลากับการตอบคำถามเหล่านี้ไป
เป็นอันมาก เวลาสำหรับแสดงธรรมเพื่อโปรดคนให้พ้นทุกข์ก็จะน้อยลงด้วย พระพุทธองค์จึง
ตัดปัญหานี้ด้วยการงดตอบคำถามต่าง ๆ ที่ไม่เกื้อกูลต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน
9.7.3 ตัวอย่างปัญหาพยากรณ์ 4 ประการ
ตัวอย่างการตอบปัญหาทั้ง 4 ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพุทธบริษัทนั้นมี
ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกจำนวนมาก ในที่นี้จะยกตัวอย่างกรณีละ 1 เรื่องพอให้นักศึกษาได้เห็น
เป็นแนวทางในการตอบปัญหาธรรมะแก่ผู้ใคร่ในการศึกษาทั้งหลาย
1) ตัวอย่างเอกังสพยากรณียปัญหา
ครั้งหนึ่ง พระสริฏฐะและพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาพระสารีบุตรและได้สนทนาปราศรัย
กัน พระสารีบุตรกล่าวกับทั้งสองท่านว่า บุคคล 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
จำพวกที่ 1 คือ “กายสักขีบุคคล” หมายถึง พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป
เป็นผู้เห็นประจักษ์กับตัว สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายแล้วทำให้แจ้งพระนิพพานภายหลังได้
จำพวกที่ 2 คือ “ทิฏฐิปัตตบุคคล” หมายถึง พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป
บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจได้ถูกต้อง
จำพวกที่ 3 คือ “สัทธาวิมุตตบุคคล” หมายถึง พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป
ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา
บุคคล 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล 3 จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวก
ไหนซึ่งดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 263