การสื่อสารและการเตรียมตัวพูดอย่างมีประสิทธิภาพ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 43
หน้าที่ 43 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอช่องทางในการสื่อสารที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ส่งกับผู้รับ รวมถึงการพิจารณาความสามารถของผู้รับในการลดความพยายามในการรับสารให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการเตรียมตัวพูดอย่างมีประสิทธิภาพด้วยขั้นตอนต่างๆ เช่น การเลือกเรื่องที่จะพูด การตั้งวัตถุประสงค์ในการพูด การวิเคราะห์ผู้ฟัง และอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การเตรียมตัวพูดจะช่วยให้เกิการเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง โดยสามารถทำให้โมเดลการสื่อสาร ประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น โดยสรุปแล้วการเตรียมตัวและการวิเคราะห์สามารถทำให้การพูดมีจุดมุ่งหมายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-ช่องทางการสื่อสาร
-ขีดความสามารถของผู้รับ
-การเตรียมตัวพูด
-การเลือกเรื่องพูด
-การวิเคราะห์ผู้ฟัง
-การตั้งวัตถุประสงค์ในการพูด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(6) ช่องทางในการสื่อสาร ช่องทางในการสื่อสารคือ ตัวเชื่อมประสานระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ ทำให้ผู้ส่งและผู้รับ สามารถทำการติดต่อสื่อสารกันได้ ผู้ส่งสารจะต้องเลือกใช้ช่องทางในการสื่อสารที่ผู้รับมีใช้อยู่ หรือสามารถจะรับได้และมีความเชื่อถือในช่องทางการสื่อสารนั้นด้วย (7) ขีดความสามารถของผู้รับ ในการติดต่อสื่อสารนั้น เราต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้รับสารด้วย การติดต่อ สื่อสารจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากสามารถทำให้ผู้รับใช้ความพยายามในการรับสาร ลดน้อยลงมากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้รับ เช่น อุปนิสัยใจคอ และ พื้นฐานความรู้ของผู้รับสาร 4.) การเตรียมตัวพูดอย่างมีประสิทธิภาพ การเตรียมตัวพูดอย่างมีประสิทธิภาพควรมีขั้นตอนอย่างน้อย 8 ประการคือ การเลือก เรื่องที่จะพูด การตั้งวัตถุประสงค์ในการพูดให้ชัดเจน การค้นคว้ารวบรวมเนื้อหาที่จะนำมาพูด การจัดระเบียบเรียบเรียงเรื่องที่จะพูด การฝึกซ้อมก่อนพูดจริง การนำเสนอ และการวิเคราะห์ ประเมินผล (1) การเลือกเรื่องที่จะพูด การเลือกเรื่องที่จะพูดต้องใช้วิจารณญาณเลือกเรื่องให้เหมาะสมแก่ผู้ฟัง โอกาส กาล เทศะ และจุดมุ่งหมายในการพูดนั้นๆ ด้วย และควรพิจารณาว่าเรื่องที่จะพูดนี้ตนเองมีความถนัด ดีเพียงไรและจะต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอีกอย่างไร นอกจากนี้ควรเลือกเรื่องที่น่า สนใจและมีประโยชน์เหมาะแก่การฟังด้วย (2) การวิเคราะห์ผู้ฟัง การวิเคราะห์ผู้ฟังเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้พูดจะละเลยไม่ได้ เพราะจะช่วยให้ ผู้พูดสามารถทราบถึงเงื่อนไขต่างๆของผู้ฟัง เช่น อายุ เพศ พื้นฐานการศึกษา ความสนใจ ทัศนคติ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมเนื้อหาที่จะพูด (3) การตั้งวัตถุประสงค์ในการพูดให้ชัดเจน ารตั้งวัตถุประสงค์การพูดเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการพูดโดยไม่มีวัตถุประสงค์อาจ กลายเป็นพูดเพ้อเจ้อไร้สาระหาประโยชน์มิได้ ซึ่งโดยทั่วไปการพูดมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ การพูดเพื่อให้ความรู้ การพูดเพื่อโน้มน้าวชักจูงใจ และการพูดเพื่อความเพลิดเพลิน จรรโลงใจ 32 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More