การพัฒนาจิตใจและเศรษฐกิจในสังคมไทย GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 161
หน้าที่ 161 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการนำและการพัฒนาจิตใจของประชาชนควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นว่าผู้นำที่มีใจใหญ่จะสามารถสร้างความเจริญให้กับบ้านเมืองได้ หากผู้นำมีศีลธรรมและพัฒนามาตรฐานของคนดี จะส่งผลดีต่อสังคมและเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการปฏิวัติพิธีกรรมทางเศรษฐกิจโดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายแทนการฆ่าสัตว์ ทำให้เกิดการสนับสนุนด้านเกษตรกรรมและลดปาณาติบาต ซึ่งส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-จิตใจของผู้นำ
-การพัฒนาสังคม
-มาตรฐานคนดี
-การพัฒนาเศรษฐกิจ
-ศีลธรรมในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในทางตรงข้าม หากพระราชามีความเสียดายทรัพย์ ความเสียดายในใจนี้ ก็จะปรากฏ ออกทางพระพักตร์ที่หม่นหมอง ประชาชนก็จะรู้ว่าพระราชาไม่ได้ให้ด้วยความเต็มใจ แต่ให้ แบบเสียไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงยากที่พลเมืองจะร่วมใจกันพัฒนาประเทศ ปกติผู้นำที่มีตำแหน่งใหญ่แต่ใจแคบการดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนย่อมทำไม่ทั่ว ถึง ประชาชนจะประสบความลำบาก ผู้นำที่ตำแหน่งเล็กแต่ใจใหญ่ ประชาชนจะประสบสุขแต่ ตนเองจะเดือดร้อน ผู้นำที่ตำแหน่งเล็กและใจแคบ บ้านเมืองจะเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ส่วนผู้นำที่ตำแหน่งใหญ่และใจใหญ่ บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรือง 6.9.9 การพัฒนาจิตใจประชาชนด้วยการตั้งมาตรฐานคนดี ปุโรหิตยังให้ข้อคิดในการบริหารคนหมู่มากแก่พระราชาว่า การทำทานครั้งใหญ่ จะ ต้องทำใจให้หนักแน่น เพราะจะมีทั้งคนดีคนชั่วหลายเหล่าปะปนกันมารับแจกทาน ซึ่งยากจะ แยกแยะได้ พระราชาจะต้องทำใจให้ได้ว่า พระองค์ตั้งใจให้เฉพาะคนดีเท่านั้น แต่ถ้ามีคนไม่ดี ปะปนเข้ามา ก็ต้องทำใจให้หนักแน่น ทำใจให้กว้างใหญ่ไพศาลว่า เราจะให้โอกาสเขากลับตัว เป็นคนดีในภายหน้า นอกจากคุณสมบัติของคนดีคือความขยันที่กล่าวมาแล้ว คนดีจะต้องมีคุณสมบัติที่ สำคัญอีกคือ ต้องมีศีลหรือถือกุศลกรรมบถ 10 ด้วย กุศลกรรมบถที่พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูล พระราชานี้ ถือเป็นการประกาศมาตรฐานคนดีในยุคนั้น เพื่อให้ผู้นำมีเกณฑ์ในการคัดคน เป็น มาตรฐานในการตั้งเป้าหมายสำหรับการพัฒนาคน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือ พัฒนาประเทศชาติในด้านอื่น ๆ เพราะทุกโครงการจะสำเร็จได้ด้วยดีนั้น ก็อยู่ที่คุณภาพของคน 6.9.10 การพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาจิตใจ พิธีบูชามหายัญของปุโรหิตของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้น เป็นการปฏิวัติพิธีกรรมเดิม ของพราหมณ์ที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า จะต้องมีการฆ่าวัว แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด พิธีบูชามหายัญแบบใหม่นี้ใช้เพียง เนยใส น้ำมัน เนยข้น นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เท่านั้น ซึ่งเป็นของหาง่ายในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน และที่สำคัญทำให้หยุดทำปาณาติบาต แต่หัน ไปส่งเสริมเกษตรกรรมแทน ซึ่งสุดท้ายแล้วก็เป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน จึงถือได้ว่า เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจคู่กับจิตใจคือศีลธรรม 150 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More