จิตใจกับสมอง: ความแตกต่างและการทำงาน GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 310
หน้าที่ 310 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อภิปรายเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างจิตใจกับสมอง โดยใช้ตัวอย่างการมองเห็นเพื่ออธิบายว่าจิตใจและสมองทำงานแตกต่างกันอย่างไร ในทางวิทยาศาสตร์ วงจรการมองเห็นจบลงที่สมอง ขณะที่พุทธศาสตร์ชี้ว่าสัญญาณภาพต้องเดินทางไปที่ใจ จึงก่อให้เกิดการมองเห็นอย่างครบถ้วน การขาดการส่งสัญญาณไปที่ใจทำให้การมองเห็นไม่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจในทั้งสองด้านจึงมีความสำคัญในการศึกษาเรื่องนี้ โดยเฉพาะในด้านจิตวิทยาและประสาทวิทยา

หัวข้อประเด็น

-ความแตกต่างระหว่างจิตใจและสมอง
-วงจรการมองเห็น
-มุมมองทางวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสตร์
-การรับรู้และการเห็นภาพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จิตใจกับสมองนั้นเป็นคนละอย่างกัน หากเปรียบแล้วสมองเป็นเหมือน Computer ส่วนใจเป็นเหมือน User สมองเป็นเหมือนหน้าตา คอยเป็นเครื่องมือของใจในการสั่งการส่วน ต่าง ๆ ของร่างกาย ปัจจุบันยังมีนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยที่ เชื่อว่า จิตใจกับสมองเป็น อย่างเดียวกัน คำอธิบายที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ที่ยืนยันว่า จิตใจเป็นคนละอย่างกับสมองคือ ในทาง วิทยาศาสตร์กล่าวว่า วงจรของการมองเห็นวัตถุเกิดจาก มีแสงไปกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้า ตาของเรา จากนั้นแสงก็จะถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วถูกส่งไปที่สมองเพื่อรับภาพนั้นและ ทำให้เกิดการเห็นภาพ ในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าวงจรการมองเห็นจบแค่นั้น แต่ในทางพุทธศาสตร์กล่าวว่า สัญญาณภาพจากสมองยังต้องเดินทางไปที่ใจซึ่งตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 ก่อน จึงจะครบวงจรและเกิดการเห็นภาพได้ ถ้าหากไม่ส่งไปที่ใจก็ จะไม่เกิดการเห็นภาพ ประเด็นนี้ให้นักศึกษานึกถึงในบางครั้งที่ตัวเราเองกำลังมองไปในที่แห่ง ใดแห่งหนึ่งอยู่ และในขณะนั้นใจของเราก็ลอยคิดถึงเรื่องอื่นอยู่ เราก็จะไม่เห็นภาพที่เรากำลัง มองอยู่นั้นหรือถึงเห็นก็ดูไม่รู้เรื่อง เพราะวงจรการมองเห็นไม่ครบ เนื่องจากใจเปิดช่องรับเรื่อง อื่นอยู่ หรือกรณีเห็นแต่ไม่รู้เรื่องก็เพราะใจถูกแบ่งออกไปทำงานอื่นจึงทำให้การมองเห็นไม่ สมบูรณ์ แม้ในตอนนั้นแสงเดินทางจากวัตถุมาเข้าตาและถูกแปลงเป็นสัญญาณส่งไปยังสมอง ก็ตาม วงจรของการที่แสงส่องไปที่วัตถุแล้วสะท้อนมาเข้าตาเรา ประสาทตาจะเปลี่ยนคลื่น แสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานนั้นจะถูกส่งไปตามเส้นประสาทเข้าสู่สมอง กระบวนการ ทั้งหมดนี้ในทางพุทธศาสนาจึงไม่จัดเป็นปรากฏการณ์ของจิตใจ หากแต่เป็นปรากฏการณ์ทาง สมอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ดำเนินไปตามกฎพีชนิยาม ไม่ใช่จิตตนิยาม เปรียบเสมือน เมื่อเราถ่ายรูป แสงกระทบเข้าที่ตัวเราแล้วสะท้อนผ่านเลนส์เข้าสู่ฟิล์ม ไม่มีใครคิดว่ากล้องถ่าย รูปนี้มองเห็นสิ่งที่มันถ่าย เลนส์ถ่ายรูปก็เหมือนตามนุษย์ ฟิล์มเทียบได้กับสมอง แสงจากวัตถุ ผ่าน เลนส์แล้วไปสิ้นสุดที่สมอง หากเราคิดว่าสมองสามารถเห็นสิ่งต่างๆ ได้ เราก็น่าจะเชื่อว่า ฟิล์มถ่ายรูปนั้นมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้เหมือนกัน นักฟิสิกส์วิเคราะห์องค์ประกอบของคนแล้วไปสิ้นสุดลงที่อนุภาคพื้นฐาน เช่น อิเล็กตรอน โปรตรอน นิวตรอน นักชีววิทยาวิเคราะห์องค์ประกอบของมนุษย์ไปสิ้นสุดลงที่ เซลล์และจีโนม นักเคมีวิเคราะห์องค์ประกอบของมนุษย์แล้วไปสิ้นสุดลงที่ธาตุไม่กี่ชนิด ข้อ สรุปเหล่านี้ยิ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นงุนงงหนักไปยิ่งขึ้น เพราะไม่อาจตอบตนเองได้ว่า กลุ่มอนุภาคเหล่านี้ กลุ่มเซลล์เหล่านี้ กลุ่มธาตุเหล่านี้ ร้องไห้ หัวเราะ ดีใจ เสียใจ มีความอ่อน บทที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 299
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More