ข้อความต้นฉบับในหน้า
วัตถุประสงค์ของการบัญญัติสิกขาบท
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระสุทินน์อย่างนี้แล้ว จึงตรัสถึงโทษของความเป็น
คนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก ไม่สันโดษ คลุกคลี และโทษของความเกียจคร้าน แล้วตรัสถึง
คุณของความเป็นคนเลี้ยงง่าย เป็นต้น พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักบัญญัติสิกขา
บทแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยมีวัตถุประสงค์ 10 ประการ คือ
(1) เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ หมายถึง การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แจงให้คณะ
สงฆ์มองเห็นโทษแห่งความประพฤตินั้น ๆ ให้เห็นความจำเป็นและยอมรับสิกขาบทที่พระองค์
ทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้น
(2) เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
(3) เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
(4) เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
(5) เพื่อป้องกันอาสวะอันจะเกิดในปัจจุบัน
(6) เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
(7) เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
(8) เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
(9) เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
(10) เพื่อถือตามพระวินัย
จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสพระปฐมบัญญัติว่า “ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม
เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ ”
พระปฐมบัญญัตินี้เป็น “มูลบัญญัติ” คือ การบัญญัติครั้งแรกของสิกขาบทข้อนี้ ซึ่งต่อ
มาจะมี “อนุบัญญัติ” คือ การบัญญัติเพิ่มเติมในรายละเอียดปลีกย่อยของสิกขาบทข้อนี้เพื่อให้
รอบคอบรัดกุมมากขึ้นดังได้กล่าวแล้วข้างต้น
จะเห็นว่าวัตถุประสงค์ทั้ง 10 ประการนี้ โดยภาพรวมแล้วก็เพื่อให้พระภิกษุทุกรูปอยู่
ร่วมกันอย่างมีความสุข จะได้ศึกษาธรรมอันเป็นเป้าหมายของการบวชได้อย่างเต็มที่ และช่วย
เกื้อหนุนให้เข้าถึงธรรมได้อย่างรวดเร็ว
บทที่ 7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 175