วิธีการขับพิษในสมัยพุทธกาล GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 348
หน้าที่ 348 / 373

สรุปเนื้อหา

ในสมัยพุทธกาล มีวิธีการขับพิษออกจากร่างกายตามบันทึกในพระไตรปิฎก 3 วิธี ได้แก่ การขับพิษด้วยการขับถ่าย, การเดินจงกรม และการอบร่างกายในเรือนไฟ โดยในแต่ละวิธีมีความสำคัญและรายละเอียดเฉพาะ เช่น การขับพิษด้วยการขับถ่ายซึ่งพระอานนท์ถวายยาถ่ายให้พระผู้มีพระภาคเจ้า, การเดินจงกรมเพื่อลดพิษในร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการปรับสมดุลสุขภาพให้แก่ภิกษุในสมัยนั้น. นอกจากนี้ยังมีการอบร่างกายในเรือนไฟ ซึ่งช่วยฟื้นฟูความแข็งแรงและสุขภาพในยุคนั้น โดยทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในสุขภาพและการดูแลร่างกายของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล.

หัวข้อประเด็น

- วิธีการขับพิษ
- พุทธศาสนา
- พระไตรปิฎก
- สุขภาพในสมัยพุทธกาล
- การรักษาและฟื้นฟู

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.6) วิธีการขับพิษในสมัยพุทธกาล วิธีการขับพิษออกจากร่างกายในสมัยพุทธกาลตามที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกนั้นมี 3 วิธี คือ การขับพิษด้วยการขับถ่าย การขับพิษด้วยการเดินจงกรม และการขับพิษด้วยการอบ ร่างกายในเรือนไฟ ในแต่ละวิธีการมีความเป็นมาและรายละเอียดดังนี้ 1.6.1) การขับพิษด้วยการขับถ่าย ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกับพระอานนท์ว่า กายของตถาคตหมักหมมไปด้วย โทษ ตถาคตต้องการจะฉันยาถ่าย พระอานนท์จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่หมอชีวกโกมารภัจจ์ ๆ คิดว่า การที่เราจะพึงทูลถวายพระโอสถถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่สมควรเลย เราควร อบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วทูลถวายพระตถาคต ท่านจึงอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วนำไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อม ทั้งกราบทูลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสูดก้านอุบล 1 ก้าน จะทำให้พระองค์ถ่ายถึง 10 ครั้ง เมื่อทรงสูดก้านอุบลครบทั้ง 3 ก้าน ก็จะทรงถ่ายถึง 30 ครั้ง เมื่อท่านถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเสร็จแล้ว ขณะเดินกลับไปถึงนอกซุ้ม ประตูท่านนึกขึ้นได้ว่า พระกายของพระตถาคตหมักหมมไปด้วยโทษ จะทรงถ่ายไม่ครบ 30 ครั้ง แต่เมื่อทรงถ่ายครั้งที่ 29 แล้ว ได้สรงพระกาย ก็จะทรงถ่ายอีกครั้งหนึ่งจึงจะครบ 30 ครั้ง พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดนั้นของชีวกโกมารภัจจ์ พระองค์จึงทรงปฏิบัติตาม นั้น จึงถ่ายครบ 30 ครั้ง เมื่อทรงถ่ายครบแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลว่า ช่วงนี้พระผู้มี- พระภาคเจ้าไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่าง ๆ จนกว่าจะมีพระกายเป็นปกติ ต่อมาไม่นานพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หายเป็นปกติ 1.6.2) การขับพิษด้วยการเดินจงกรม สมัยนั้น ทายกทายิกาในพระนครเวสาลีเริ่มจัดปรุงอาหารประณีตขึ้นตามลำดับ ภิกษุ ทั้งหลายฉันอาหารนั้นแล้ว มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก จึงมีอาพาธมาก หมอชีวกโกมารภัจจ์เห็นภิกษุมีอาพาธมาก จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูล ว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก ทำให้มีอาพาธมาก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้โปรดทรงอนุญาต “ที่จงกรม” และ “เรือนไฟ” เถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลายจักมีอาพาธ น้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ” บ ท ที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 337
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More