ข้อความต้นฉบับในหน้า
เช่นกัน โดยมวลของสสารจะเพิ่มขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่เร็วขึ้น และยิ่งเคลื่อนที่ใกล้ความเร็วแสง
มากเท่าไรมวลยิ่งมากขึ้นไปอีก มวลเหล่านี้มาจากพลังงานที่เราป้อน เพื่อผลักดันวัตถุดังกล่าว
ให้เคลื่อนที่นั่นเอง สิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์มาแล้วหลายครั้งว่าเป็นจริง เช่น ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์
แห่งยุโรป(CERN) ได้ทดลองเร่งความเร็วอนุภาคภายในอะตอมได้จนถึง 99.99% ของ
ความเร็วแสง แต่หลังจากนั้นไม่ว่าจะเพิ่มพลังงานไปมากเท่าใด ก็ไม่อาจทำได้ เพราะ
“พลังงาน” จะเปลี่ยนไปเป็น “มวลของสสาร” ตามสมการ E=mc ผลการทดลองนี้จึงยืนยัน
ทฤษฎีของไอน์สไตน์ที่บอกว่า “แสงเดินทางเร็วที่สุดในโลก” นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ.
2473) นักวิทยาศาสตร์สองคนชื่อ ดิแรก (Paul Dirac) และแอนเดอร์สัน (Carl Anderson) ได้
ทำการทดลองในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน จากการทดลองคราวนั้น วงการวิทยาศาสตร์ก็ต้องตื่นเต้น
เมื่อพบว่า พลังงานสามารถแปรกลับมาเป็นสสารได้ มนุษย์สามารถสร้างสสารขึ้นมาจาก
ความว่างเปล่าได้ ผลการทดลองครั้งนี้ส่งผลให้ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา
ความยาวหดลงเมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น
ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษระบุว่า ความยาวของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น
จะหดสั้นลงกว่าวัตถุขนาดเดียวกันที่หยุดนิ่ง หรือเคลื่อนที่ช้ากว่า เช่น ความยาวของไม้บรรทัด
ที่วางตามแนวนอนบนรถไฟที่จอดนิ่ง จะยาวเท่ากับไม้บรรทัดที่เราถือตามแนวนอนและยืนนิ่ง
อยู่กับที่บนชานชาลาสถานีแต่หากรถไฟคันดังกล่าวเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอขณะที่เรายัง
ยืนนิ่งอยู่ที่ชานชาลาดังกล่าว เราจะเห็นไม้บรรทัดบนรถไฟหดสั้นกว่าของเรา ยิ่งรถไฟมี
ความเร็วใกล้ความเร็วแสงมากเท่าไร ไม้บรรทัดบนรถไฟก็จะยิ่งหดสั้นลงกว่าไม้บรรทัดที่เรา
ถืออยู่ที่ชานชาลาไปตามส่วน และตัวขบวนรถไฟก็จะสั้นลงด้วย ถ้าสามารถเคลื่อนที่ด้วย
ความเร็วเท่ากับแสง ความยาวของไม้บรรทัดและรถไฟก็จะไม่เหลือเลยคือกลายเป็นศูนย์
เวลาในเอกภพไม่เป็นหนึ่งเดียว
แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าเวลาเป็นหนึ่งเดียวและเท่ากันเสมอไม่ว่าจะเป็นสถานที่
ใดในเอกภพ แต่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษบอกว่า เวลาในเอกภพแตกต่างกันได้ โดยความเร็วที่
ต่างกันทำให้เวลาต่างกัน ยิ่งวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากเท่าไร เวลาก็จะเดินช้าลงเท่านั้น
เมื่อเทียบกับวัตถุที่เคลื่อนที่ช้ากว่า ในชีวิตประจำวันเราจะสังเกตความแตกต่างของเวลาไม่
สมภาร พรมทา (2534). “พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” หน้า 168.
* ไพรัช ธัชยพงษ์ (2549). “หนังสือไอน์สไตน์ หลุมดำ และบิ๊กแบง” หน้า 116.
48 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก