นิสสัคคิยปาจิตตีย์ และ สิกขาบทในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 189
หน้าที่ 189 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ที่หมายถึงการล่วงละเมิดที่มีความเกี่ยวข้องกับการสละสิ่งของต่างๆ เช่น ไตรจีวร เมื่อภิกษุล่วงละเมิด สามารถคืนสิ่งของดังกล่าวได้ด้วยวิธีการปลงอาบัติและมีสิกขาบทอีกหลายประเภท อาทิเช่น ปาจิตตีย์ และ ปาฏิเทสนียะ ที่มีวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกัน มาดูตัวอย่างสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ ที่ประกอบด้วย 8 หมวด 227 สิกขาบท แต่ยกตัวอย่างในหมวดปาราชิกและสังฆาทิเสสเพียง 2 หมวดเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการอธิบายว่าเสขิยวัตร คือวัตรปฏิบัติที่ควรศึกษาเพื่อให้มีมารยาทที่ดีในการปฏิบัติธรรมและการแสดงธรรมในสังคม

หัวข้อประเด็น

-นิสสัคคิยปาจิตตีย์
-ปาจิตตีย์
-ปาฏิเทสนียะ
-เสขิยวัตร
-สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์
-หมวดปาราชิก
-การอาบัติ
-มารยาทการปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(4) นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คำว่า “นิสสัคคิยะ” แปลว่า “ทำให้สละสิ่งของ” ส่วนคำว่า “ปาจิตตีย์” แปลว่า “การล่วงละเมิดอันทำให้กุศลธรรมคือความดีตกไป” นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จึง หมายถึง สิกขาบทที่ภิกษุใดล่วงละเมิดเข้าแล้วจะต้องสละสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับสิกขาบทข้อนั้นๆ เช่น ไตรจีวร เป็นต้น เมื่อสละแล้วจึงสามารถแก้ไขได้ด้วยการปลงอาบัติได้ (5) ปาจิตตีย์ เป็นสิกขาบทที่ไม่มีเงื่อนไขให้ต้องสละสิ่งของ เมื่อล่วงละเมิดแล้ว สามารถแก้ไขด้วยการปลงอาบัติได้เลย (6) ปาฏิเทสนียะ แปลว่า จะพึงแสดงคืน เป็นสิกขาบทที่ภิกษุรูปใดต้องอาบัติแล้วจะ แก้ไขด้วยการแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือ ปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น” การแสดงคืนนี้เป็นการปลงอาบัติอย่างหนึ่ง (7) เสขิยวัตร แปลว่า วัตรที่พระภิกษุพึงศึกษา ซึ่งเป็นวัตรปฏิบัติเกี่ยวกับมารยาทอันดี งามต่าง ๆ ได้แก่ นุ่งห่มจีวรให้เรียบร้อย การฉันให้เรียบร้อย การแสดงธรรม และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ภิกษุที่กระทำผิดพลาดเมื่อตั้งใจว่าจะศึกษาปรับปรุงให้ดีขึ้นก็ถือว่าพ้นจากอาบัตินั้น (8) อธิกรณสมถะ แปลว่า ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ เป็นวิธีการระงับอธิกรณ์หรือ คดีความที่เกิดขึ้นให้สงบเรียบร้อย ซึ่งจะอธิบายโดยละเอียดใน หัวข้อ 7.10 อธิกรณ์ใน พระไตรปิฎก และ หัวข้อ 7.1.1 อธิกรณสมถะธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์” 7.7 ตัวอย่างสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์มีทั้งหมด 8 หมวด 227 สิกขาบท ในที่นี้จะยกตัวอย่างเพียง 2 หมวดคือ ปาราชิก และ สังฆาทิเสส เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบพอสังเขปว่า สิกขาบทแต่ละข้อ ของพระภิกษุนั้นมีเนื้อหาเป็นอย่างไร หมวดปาราชิก 4 สิกขาบท 1) ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก 2) ภิกษุใดลักขโมยทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก 3) ภิกษุใดจงใจฆ่ามนุษย์ตาย หรือพรรณนาคุณแห่งความตายจนผู้อื่นคล้อยตาม แล้วฆ่าตัวตาย ต้องอาบัติปาราชิก 4) ภิกษุใดกล่าวอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตนหากผู้ฟังเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิกยกเว้นภิกษุ นั้นสำคัญผิดว่าตนมีคุณวิเศษ 178 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More