เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 230
หน้าที่ 230 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างสังคมที่มีเอกภาพและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งผ่านการช่วยเหลือกันระหว่างคนรวยและคนจน โดยเฉพาะการให้ทานที่ส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น ตัวอย่างของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้สร้างวัดพระเชตวันที่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม การแจกจ่ายทรัพย์สินเพื่อสร้างศาสนสถานและช่วยเหลือผู้คน ทั้งนี้ยังมีการกล่าวถึงการสะสมบุญในอดีตที่ส่งผลให้อดีตคนจนกลายเป็นเศรษฐีอีกด้วย การทำบุญกับพระพุทธศาสนาเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรือง

หัวข้อประเด็น

-การให้ทานในพระพุทธศาสนา
-การสร้างสังคมเอกภาพ
-เศรษฐกิจในสมัยพุทธกาล
-การช่วยเหลือคนจน
-ตัวอย่างเศรษฐีในอดีต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประเทศอยู่ดีมีสุข และสังคมมีเอกภาพ มีความปรองดองระหว่างชนชั้นเพราะมีการช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ไม่เป็นในลักษณะที่ว่ามือใครยาวสาวได้สาวเอา แต่คนรวยซึ่งมีทรัพย์เหลือเฟือ อยู่แล้ว ก็นำทรัพย์ส่วนเกินนั้นมาช่วยเหลือคนจน บุญจากการให้ทานนี้ก็ย่อมส่งผลให้คนรวยๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ส่วนคนจนเมื่อเห็นแบบ อย่างการให้ทานของคนรวยแล้วก็ย่อมให้ทานเองบ้าง และบุญนี้ก็จะค่อยๆ เกื้อกูลคนจนเหล่านี้ ให้ค่อยๆ มีฐานะที่ดีขึ้นตามลำดับ ในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างคนจนหลายท่านที่ตระหนักว่า สาเหตุที่ตนเกิดมายากจนก็เพราะในอดีตชาติไม่ได้สั่งสมบุญด้วยการให้ทานเป็นต้นเมื่อตระหนัก เช่นนี้แล้วจึงเริ่มขวนขวายสั่งสมบุญและพากเพียรทำการงาน และผลบุญที่ทำนั้นก็ส่งผลให้มี ฐานะดีขึ้นกว่าเดิม บางท่านถึงกับได้เป็นเศรษฐีเลยทีเดียว เช่น ปุณณเศรษฐี เป็นต้น ซึ่งเมื่อ ก่อนเป็นคนงานในบ้านของสุมนเศรษฐี ต่อมาได้ทำบุญกับพระสารีบุตรเถระ ผลบุญนั้นจึง ส่งผลให้ท่านเป็นเศรษฐี การทำให้เศรษฐกิจระดับมหภาคแข็งแกร่งตามหลักการในพระไตรปิฎกนั้น นอกจาก คนรวยจะช่วยเหลือคนจนด้วยการให้ทานดังกล่าวแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือ มหาเศรษฐีในสมัย พุทธกาลยังใช้ทรัพย์ส่วนเกินให้ทานบำรุงพระพุทธศาสนาด้วย ซึ่งเป็นการสั่งสมบุญในแหล่ง เนื้อนาบุญที่จะส่งผลให้มหาเศรษฐีเหล่านั้นร่ำรวยยิ่งๆ ขึ้นไปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมหาเศรษฐี ยุคนั้น คือ นิยมสร้างวัดเพื่อเป็นแหล่งสั่งสมบุญของคนในแคว้น การสร้างวัดนี้เองเป็นการ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีอย่างเป็นรูปธรรมวิธีหนึ่ง เพราะก่อให้เกิดการจ้างงาน การซื้อขาย วัสดุอุปกรณ์เพื่อนำไปสร้างวัด ยิ่งวัดที่สร้างมีขนาดใหญ่เท่าไรก็ยิ่งกระตุ้นเศรษฐกิจให้เฟื่องฟู ได้มากเท่านั้น เช่น การสร้างวัดพระเชตวันของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น วัดพระเชตวันนั้นเป็นวัดใหญ่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลรองรับ พระภิกษุได้หลายพันรูป อนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้ออารามจากเจ้าเชตเพื่อสร้างเป็นวัดด้วยเงิน 18 โกฏิ ใช้เงินอีก 18 โกฏิ สร้างเสนาสนะทั้งหมดภายในวัด ได้แก่ ซุ้มประตู หอฉัน โรงไฟ กุฎี ห้องน้ำ โรงจงกรม บ่อน้ำ เรือนไฟ สระโบกขรณี เป็นต้น และใช้เงินอีก 18 โกฏิ เพื่อฉลองวัดเมื่อสร้าง เสร็จแล้ว การสร้างวัดใหญ่ขนาดนี้ทำให้มีการผลิตซื้อขายวัสดุอุปกรณ์เพื่อนำไปสร้างวัด และ จะทำให้เกิดการจ้างงานอย่างต่อเนื่องจำนวนเป็นมาก 1 ธัมมปทัฏฐกถา, อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 41 หน้า 107 บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 219
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More