ข้อความต้นฉบับในหน้า
ไฮโดรเจนได้ถูกต้อง ต่อมาบอร์และเพื่อนนักฟิสิกส์ได้แสดงแบบจำลองของอะตอม ที่มีลักษณะ
เหมือนระบบสุริยะ โดยมีนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่ตรงกลางกับ
อิเล็กตรอนโคจรอยู่รอบๆ นิวเคลียส ในช่วงเวลานั้นนักฟิสิกส์เข้าใจว่า โปรตอน นิวตรอน และ
อิเล็กตรอน ไม่อาจจะแบ่งแยกออกไปได้อีกแล้ว แต่ต่อมายังพบว่าโปรตรอนและนิวตรอนยัง
ประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กยิ่งกว่าเรียกว่า ควาร์ก (Quark) และภายหลังก็ยังพบอนุภาคที่เล็ก
ยิ่งกว่านี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ผลที่สำคัญของทฤษฎีควอนตัม
ทฤษฎีควอนตัมพบว่า ในโลกของสสารที่มีขนาดเล็กไม่มีความคงที่สม่ำเสมอ ไม่มี
กฎเกณฑ์ที่แน่นอน สิ่งที่เราสามารถพยากรณ์ได้ในโลกแห่งอนุภาค มีเพียงความน่าจะเป็น
เท่านั้น แต่เดิมวิชาฟิสิกส์วางอยู่บนรากฐานที่ว่า จักรวาลนี้มีความเป็นระเบียบ มีกฎเกณฑ์ มี
ความคงที่สม่ำเสมอ แต่รากฐานนี้ไม่อาจจะนำมาอธิบายโลกแห่งอนุภาคได้อีกต่อไป แม้แต่
ไอน์สไตน์เองก็ยังกังวลว่า ควอนตัมฟิสิกส์เติบโตโดยไม่เคารพกฎการเรียงลำดับเหตุ (Cause)
ไปสู่ผล (Effect) นีลส์ บอร์ มักจะสร้างทฤษฎีที่ไม่สนใจการเรียงลำดับว่า ต้องมีเหตุก่อนแล้ว
จึงจะเกิดผล ขณะที่ไอน์สไตน์เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้ว เหตุต้องมาก่อนแล้วจึงจะมีผลตามมา
ซึ่งทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขาก็ยืนยันเช่นนั้น เพราะฉะนั้นทฤษฎีทั้งสองนี้จึงขัดแย้งซึ่งกันและ
กัน ทฤษฎีสัมพัทธภาพสามารถอธิบายโครงสร้างเอกภพได้ อธิบายจักรวาลได้ แต่ไม่สามารถ
อธิบายโครงสร้างระดับเล็กแบบทฤษฎีควอนตัมได้ ในขณะเดียวกันทฤษฎีควอนตัมก็ไม่
สามารถอธิบายโครงสร้างเอกภพได้เช่นกัน
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จึงพยายามหาทฤษฎีใหม่ ที่สามารถอธิบายทุกสิ่งทุกอย่าง
ได้ ภายใต้ชื่อว่า ทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) โดยหลักการแล้วจะรวมทั้งสองทฤษฎี
นี้เข้าด้วยกันเป็น “ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงแบบควอนตัม”
3.2.3 ทฤษฎีวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการ (Evolution) ในความหมายทั่วไป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมี
ชีวิตที่ปรากฏขึ้นในระหว่างชั่วรุ่น การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในทุกระดับตั้งแต่ระดับดีเอ็นเอไป
จนถึงลักษณะรูปร่าง สรีรวิทยา และพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตให้แตกต่างไปจากบรรพบุรุษ ทฤษฎี
1 ไพรัช ธัชยพงษ์ (2549). “หนังสือไอน์สไตน์ หลุมดำ และบิกแบง” หน้า 245.
* พัฒนี จันทรโรทัย (2547). “วิวัฒนาการ:ความเป็นมาและกระบวนการกำเนิดสิ่งมีชีวิต” หน้า 1.
นฐานเรื่องเอกภพ DOU 53
บ ท ที่ 3 ความรู้พื้นฐานเ