การรับรู้ใจและวิทยาศาสตร์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 321
หน้าที่ 321 / 373

สรุปเนื้อหา

เมื่อเราปฏิเสธอินทรีย์ที่ 6 จะขาดการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ทางใจ เช่น ความรัก และความโกรธ ซึ่งเหล่านี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีขีดจำกัดในการเข้าใจความจริงและมักจะพยายามใช้วิธีการที่ผิดในการพิสูจน์ โดยการใช้เครื่องมือที่วัดจากอินทรีย์อื่นแทนที่จะรับรู้โดยตรงผ่านใจ การสนทนาเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ควรเปิดกว้างมากขึ้น และนับรวมวิธีการศึกษาจากประสบการณ์โดยตรง เช่นในทางพระพุทธศาสนา ที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเองในแง่มุมของวิทยาศาสตร์ทางใจ

หัวข้อประเด็น

-อินทรีย์ที่ 6
-ความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์
-ความรักและอารมณ์
-ข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์
-การศึกษาในทางพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ถ้าเราไม่ยอมรับอินทรีย์ที่ 6 เราจะขาดความรู้ต่อประสบการณ์ไปมากมาย เพราะ ประสบการณ์พื้นฐานทั่วไปที่เกิดขึ้นในใจนั้นมีมาก เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว ซึ่งไม่ อาจพิสูจน์ได้ด้วยอินทรีย์อื่น เวลาเรามีความรัก เราก็รู้แก่ใจของเราเอง อันนี้พิสูจน์ได้ง่ายเวลามี ความกลัว มีความรู้สึกโกรธ มันก็รู้สึกได้โดยตรง ตลอดจนความสุขสบาย ความปลาบปลื้มอิ่มใจ ผ่อนคลายใจ พิสูจน์ได้ทั้งนั้น แต่วงการวิทยาศาสตร์มักเข้าใจไปว่า สิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองไม่ ได้เกิดจากใจ เมื่อไม่ยอมรับเรื่องใจก็เลยจะต้องหาทางพิสูจน์อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดกับใจด้วยการ ใช้เครื่องมือเครื่องวัดที่แสดงผลออกมาเป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ด้วยอินทรีย์ทั้ง 5 เช่น เมื่อ ต้องการจะรู้ความคิดในใจ ก็พยายามประดิษฐ์เครื่องวัดคลื่นสมอง ซึ่งไม่สามารถรับรู้ความคิด ของใจที่แท้จริงได้ อย่างมากที่สุดก็บอกได้เพียงรูปแบบคลื่นสมองหลากชนิด ซึ่งให้ความเข้าใจ ความคิดในใจอย่างพร่าเลือนเท่านั้น การพยายามพิสูจน์ความคิดที่เกิดกับใจด้วยอินทรีย์ 5 ของนักวิทยาศาสตร์ ตรงกับที่ นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อ เอดดิงตัน เคยบอกว่า “วิทยาศาสตร์ไม่สามารถนำมนุษย์เข้าถึง ตัวความจริงหรือสัจจภาวะได้โดยตรง จะเข้าถึงได้ก็เพียงโลกแห่งสัญลักษณ์ที่เป็นเพียงเงา” กล่าวคือเป็นเพียง “shadow” คือเงาของความจริง ไม่ใช่ตัวความจริง เป็นเครื่องแสดงว่า ความ จริงทางวิทยาศาสตร์มีความบกพร่อง และวิธีการหาความจริงของวิทยาศาตร์ก็บกพร่อง เพราะ ทำผิดหลักการพิสูจน์ความจริง คือ พิสูจน์ประสบการณ์ของอินทรีย์หนึ่งด้วยอินทรีย์อื่น ผิดอินทรีย์ กัน ถ้าอยู่ในลักษณะนี้ วิทยาศาสตร์ก็จะพิสูจน์เงาของความจริงเรื่อยไป เหมือนกับว่าเราเรียนรู้ก้อนหินจากเสียง “ป๋อม” ในน้ำ หรือจากคลื่นที่เกิดในน้ำ เพราะก้อนหินกระทบ พอนักวิทยาศาสตร์ได้ยินก็ไปวัดระยะและคำนวณกันว่าเมื่อ ได้ยินเสียง “ป้อม” ครั้งนี้ เสียงขนาดนี้ ก้อนหินขนาดเท่านี้ ต่อไป “ป้อม” เสียงขนาดนั้น ก้อนหินก็ต้อง ขนาดเท่านั้น ก็บอกด้วยสูตรคณิตศาสตร์ทำเป็นสมการคณิตศาสตร์ออกมา หรือไม่อย่างนั้นก็ ไปวัดเอาคลื่น ที่เกิดมาจากการตกลงน้ำของก้อนหิน เพื่อจะได้รู้ขนาดของมวลสาร ในการเรียนรู้ความจริงของธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์มันเป็นอย่างนี้คือ เราไม่ได้ จับต้องเห็นก้อนหินตัวจริงสักที เพราะฉะนั้น อาจจะเป็นได้ว่า วิทยาศาสตร์อาจจะต้องมาทด ลองการสังเกตในแบบอื่นดูบ้าง เช่นอย่างในทางพระพุทธศาสนาที่ถือว่า การสังเกตทดลอง จากประสบการณ์ตรงในทางใจก็ถือว่า เป็นการสังเกตทดลองหาความจริงของกฎธรรมชาติ เช่นเดียวกัน เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ทางใจ ที่เมื่อปฏิบัติฝึกฝนไปตามที่พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทรงแนะนำแล้ว ก็จะสามารถเข้าถึงและพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง และมีผู้เข้าถึงพิสูจน์ได้ และ 310 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More