การเกิดของรัฐและเป้าหมายของการเมืองการปกครอง GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 135
หน้าที่ 135 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดของรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนหรือชุมชนที่มีรัฐบาลและอำนาจอธิปไตยของตนเอง โดยยกตัวอย่างการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยและการสืบราชสมบัติของกษัตริย์ นอกจากนี้ยังได้พูดถึงเป้าหมายของการเมืองการปกครองในยุคแรก ที่มุ่งเน้นไปที่การรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมและสอนเป้าหมายชีวิตมนุษย์ใน 3 ระดับ ซึ่งมีพื้นฐานจากอธรรมและธรรมะ เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขโดยไม่เดือดร้อน.

หัวข้อประเด็น

-การกำเนิดของรัฐ
-การเมืองการปกครอง
-อัคคัญญสูตร
-กษัตริย์และประชาธิปไตย
-เป้าหมายชีวิตมนุษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เปรียบเสมือนการเสียภาษีให้รัฐบาลในปัจจุบัน เมื่อตกลงกันอย่างนี้แล้ว พวกมนุษย์จึงพากัน ไปหาบุคคลที่มีความประพฤติดี มีความสามารถและมีบุคลิกน่าเชื่อถือ น่าเกรงขามกว่าคนอื่นๆ สมมติให้ผู้นั้นเป็นหัวหน้า ด้วยเหตุนี้ อักขระว่า มหาชนสมมติจึงอุบัติขึ้น เพราะผู้นั้นทำหน้าที่เป็นหัวหน้า เป็น ใหญ่ในเขตแดนแห่งข้าวสาลีทั้งหลาย และอักขระว่า กษัตริย์ ก็อุบัติขึ้น เพราะเหตุที่ผู้นั้นยังชน เหล่าอื่นให้มีความสุขใจ “โดยธรรม” และอักขระว่า ราชา ก็อุบัติขึ้นตามมาเช่นกัน ซึ่ง กษัตริย์ หรือ ราชา ที่เกิดจากการที่มหาชนสมมติขึ้นนี้ ก็คล้ายๆ กับการเลือกตั้งในระบอบ ประชาธิปไตยในปัจจุบัน ต่างกันเพียงแต่ว่าผู้ที่ได้รับเลือกนั้นปัจจุบันเรียกว่า นายกรัฐมนตรีบ้าง ประธานาธิบดีบ้าง ส่วนกษัตริย์ในยุคปัจจุบันโดยส่วนใหญ่สืบราชสมบัติโดยสายโลหิต และ ไม่ได้มีหน้าที่บริหารประเทศแล้ว จากเรื่องราวในอัคคัญญสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่า มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ “การกำเนิด ของรัฐ” อยู่ เพราะคำว่า “รัฐ” หมายถึง “กลุ่มคนหรือชุมชนซึ่งอาศัยอยู่รวมกันอย่างเป็น ระเบียบในดินแดนหรืออาณาเขตแน่นอน มีรัฐบาลและอำนาจอธิปไตยของตนเอง สามารถ บริหารกิจการทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอกรัฐโดยอิสระ พ้นจากการควบคุมของรัฐภายนอก” โดยรัฐบาลที่ปรากฏในอัคคัญญสูตรนั้น หมายเอา “กษัตริย์” ซึ่งยุคต่อมาได้พัฒนาจนกลาย เป็นสถาบันมีอำนาจในการปกครองประชาชนในดินแดนของตนให้สงบเรียบร้อย 6.3 เป้าหมายของการเมืองการปกครอง จากอัคคัญญสูตรจะเห็นว่า เป้าหมายเบื้องต้นของการเมืองการปกครองนั้น คือการ รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยธรรม ติเตียน ตักเตือน ลงโทษคนที่ประพฤติอกุศลธรรม อันเป็นเหตุให้คนในสังคมเดือดร้อน เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข อันนี้เป็นเป้าหมาย หลักของการเมืองการปกครองยุคแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในแต่ละยุค พระองค์ตรัสสอน เป้าหมายของชีวิตมนุษย์ไว้ 3 ระดับ คือ เป้าหมายระดับต้น เป้าหมายระดับกลาง และเป้าหมาย ระดับสูงสุด โดยเป้าหมายระดับต้น คือ การสร้างตัวสร้างฐานะให้ได้ในปัจจุบันชาตินี้ บนพื้น ฐานของศีลธรรม เป้าหมายระดับกลาง คือ การสั่งสมบุญเพื่อให้ได้ไปเกิดยังสุคติในภพชาติหน้า ส่วนเป้าหมายระดับสูงสุด คือ การสร้างบารมีอย่างยิ่งยวดเพื่อละกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน เมื่อเป้าหมายของชีวิตมนุษย์มี 3 ระดับเช่นนี้ ดังนั้นเป้าหมายของการเมืองการ 124 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More