ข้อความต้นฉบับในหน้า
ก. (เกสี) ข้าพระองค์ก็ฆ่ามันเสียเลย เพราะคิดว่าโทษอย่าได้มีแก่อาจารย์ของเราเลย ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเป็นสารถีฝึกบุรุษชั้นเยี่ยม พระองค์ทรงฝึกบุรุษอย่างไร
ภ. ดูก่อนเกสี เราย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้ง
รุนแรงบ้าง วิธีละม่อมคือ กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ ฯลฯ วิธีรุนแรง คือ
กายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้ ฯลฯ วิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง คือ กายสุจริต
เป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ กายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้ ฯลฯ
ก. ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของพระองค์ไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้ง
ละม่อมทั้งรุนแรง พระผู้มีพระภาคจะทำอย่างไรกะเขา
ภ. ดูก่อนเกสี เราก็ฆ่าเขาเสียเลย
ก. ปาณาติบาตไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเลย ไฉนพระองค์จึงตรัสว่า ฆ่าเขาเสีย ฯ
ภ. จริงเกสี ปาณาติบาตไม่สมควรแก่ตถาคต ตถาคตไม่สำคัญบุรุษนั้นว่า ควรว่ากล่าว
ควรสั่งสอน นี้เป็นการฆ่าอย่างดีในวินัยของพระอริยะ
เรื่องนี้ก็เช่นกันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบการฝึกคนของพระองค์เหมือนกับ
การฝึกม้า จึงทำให้นายเกสีผู้เชี่ยวชาญในการฝึกม้าเข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้นายเกสี
จึงกล่าวว่าภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
แก่คนหลงทางหรือส่องประทีปในที่มืดข้าพระองค์นี้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไปจนตลอดชีวิต
2) แสดงธรรมโดยยึดตามจริตผู้ฟัง
ในเวลาที่พระพุทธองค์จะสอนกรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลายนั้น พระองค์จะทรงระลึกชาติ
ภิกษุรูปนั้นๆ ก่อนว่า ในอดีตชาติภิกษุรูปนี้เป็นใคร มีนิสัยอย่างไร จะสอนกรรมฐานแบบไหน
จึงจะบรรลุธรรมได้ ทรงสอนตามจริตอัธยาศัย เช่น เมื่อครั้งที่พระองค์จะสอนกรรมฐานแก่ภิกษุ
รูปหนึ่ง ซึ่งพระสารีบุตรสอนกรรมฐานแล้วไม่ก้าวหน้า เพราะท่านคิดว่าภิกษุรูปนี้เป็นพระหนุ่ม
ปกติของพระหนุ่มจะมีกามราคะรบเร้าให้เดือดร้อนใจ ท่านจึงให้พิจารณาอสุภกรรมฐาน แต่
เมื่อภิกษุนั้นนำไปปฏิบัติปรากฏว่าไม่ก้าวหน้า สุดท้ายจึงนำไปกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงระลึกชาติภิกษุรูปนั้น ทรงพบว่าท่านเคยเป็นช่างทองมาก่อน มี
ความคุ้นเคยกับของสวยงามประณีต พระองค์จึงเนรมิตดอกบัวทองคำให้พิจารณา และด้วย
เวลาเพียงไม่นานที่ภิกษุรูปนั้นนำดอกบัวไปเป็นอารมณ์กรรมฐาน ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ในที่สุด
เกสีสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่มที่ 35 ข้อ 111 หน้า 298-300.
250 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก