ข้อความต้นฉบับในหน้า
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นและสาวกยุคแรกผู้ตรัสรู้ตามจะปรินิพพานไปแล้ว แต่
สาวกยุคหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกันออกบวชจากตระกูลต่างกัน ก็ดำรงพระศาสนา
นั้นไว้ได้ยาวนาน เปรียบเสมือนดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดานร้อยดีแล้วด้วยด้าย
ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ฉันนั้น
พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายสาเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี
และพระนามเวสสภู ไม่ทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลายไว้ว่า ในกาลของพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น คนมีอายุยืน มีกิเลสเบาบาง แค่ได้ฟังอริยสัจ 4 เพียงพระคาถาเดียว
ย่อมบรรลุธรรมได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นจึงไม่ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร จึงทำให้
พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นมีน้อย
เหมือนกับกรณีพระสารีบุตรในสมัยที่ยังเป็นอุปติสสปริพาชกซึ่งเป็นผู้มีกิเลสเบาบาง
มีปัญญามาก เพียงแค่ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิเถระเรื่องอริยสัจ 4 เพียงคาถาเดียวว่า “ธรรม
เหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และเหตุแห่งความดับแห่ง
ธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้” ธรรมในที่นี้คือทุกข์ มีเหตุคือตัณหาเป็นแดน
เกิด ความดับแห่งทุกข์คือนิโรธ และการจะดับทุกข์คือขจัดตัณหาได้ก็ต้องปฏิบัติมรรคมีองค์แปด
อุปติสสปริพาชกได้ฟังเพียงแค่นี้ก็เข้าใจแจ่มแจ้ง และได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
นักศึกษาลองคิดดูว่า หากพระสาวกและพระสาวิกาทุกรูปของพระสมณโคดมสัมมา-
สัมพุทธเจ้ามีปัญญามากอย่างพระสารีบุตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ได้แสดงธรรมโดย
พิสดารเลย เพราะแสดงเพียงแค่คาถาเดียวก็บรรลุธรรมแล้ว จะมีพระธรรมคำสอนตกทอดมาถึง
พวกเราเพียงแค่ 1 คาถานี้ และโอวาทปฏิโมกข์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์จะต้อง
แสดงเท่านั้น ซึ่งแม้พวกเราจะฟังกี่ร้อยกี่พันครั้งก็ยังไม่บรรลุธรรมเสียที เนื่องจากเรายังมีกิเลส
มาก และมีปัญญาน้อยอยู่นั่นเอง
ความดำรงอยู่นานของศาสนา 2 ประเภท
ความดำรงอยู่นานของพระศาสนานั้นมี 2 ประเภทคือ ดำรงอยู่นานโดยนับจำนวนปี และ
ดำรงอยู่นานโดยนับช่วงอายุคน พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีมีพระชนมายุ 80,000 ปี แม้สาวก
ในยุคของพระองค์ก็อายุประมาณนั้น ศาสนาของพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งอยู่ได้ 160,000
ปี สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขีมีพระชนมายุ 70,000 ปี ศาสนาของพระองค์ตั้งอยู่
พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล, มก. เล่ม 1 หน้า 344.
* ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 40 หน้า 126.
168 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก