ศาสนาและสังคมศาสตร์ในชีวิตประจำวัน GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 22
หน้าที่ 22 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงการศึกษาในหมวดวิชาศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เน้นความเข้าใจเรื่องมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ รวมถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวัน เช่น การพัฒนาชุมชน การโฆษณา การบริหารจัดการ และอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้าใจถึงโลกภายนอกและการปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ศาสนาในชีวิตประจำวัน
-หมวดวิชาสังคมศาสตร์
-กลุ่มวิชาบริสุทธิ์
-กลุ่มวิชาประยุกต์
-วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนาในชีวิตประจำวัน ภาษาสำหรับธุรกิจ อุตสาหกรรมศิลป์ ศิลปการแสดง การท่องเที่ยว ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น 2.1.2 หมวดวิชาสังคมศาสตร์ เป็นหมวดวิชาที่ศึกษาเรื่องมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่ง เกี่ยวกับโลกภายนอกของมนุษย์ในส่วนที่เป็นสภาพแวดล้อมทางสังคม แบ่งเป็น 2 กลุ่มวิชาเช่น กัน คือ กลุ่มวิชาบริสุทธิ์ และ กลุ่มวิชาประยุกต์ กลุ่มวิชาบริสุทธิ์ กลุ่มวิชาบริสุทธิ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มวิชาย่อย คือ ความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะด้าน และ กลุ่มวิชาผสม (1) กลุ่มความรู้ทั่วไป หมายถึง กลุ่มวิชาที่เป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ เช่น มนุษยวิทยา สังคมวิทยา เป็นต้น (2) กลุ่มความรู้เฉพาะด้าน หมายถึง กลุ่มวิชาความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อ การดำรงอยู่ในสังคมของมนุษย์ เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา เป็นต้น (3) กลุ่มวิชาผสม หมายถึง กลุ่มวิชาที่นำความรู้ต่างวิชากันมาผสมผสานกัน เช่น มนุษยวิทยากายภาพ สังคมวิทยาการเมือง เศรษฐศาสตร์การเมือง จิตวิทยาสังคม ธุรกิจ การเกษตร การเกษตรอุตสาหกรรม เป็นต้น กลุ่มวิชาประยุกต์ กลุ่มวิชาประยุกต์ คือ วิชาที่นำความรู้บริสุทธิ์ของสังคมศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในชีวิต มีหลายสาขาวิชา เช่น การพัฒนาชุมชน การสังคมสงเคราะห์ การจัดการ การเป็นผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ การโฆษณา นิเทศศาสตร์ วาทศาสตร์ การวางแผนคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นิเทศธุรกิจ การจัดการอุตสาหกรรม เป็นต้น 2.1.3 หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ซึ่งมีชื่อเต็มว่า “วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ” นั้นเป็นหมวดวิชาที่ศึกษาเรื่อง มนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งว่าด้วยโลกภายนอกของมนุษย์ในส่วนที่เป็นสภาพแวดล้อมทาง * อุไรวรรณ ธนสถิตย์. (2530), “หลักมนุษยศาสตร์” หน้า 14. บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ใ น ท า ง โ ล ก DOU 11
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More