ข้อความต้นฉบับในหน้า
การนำน้ำมูตรเน่ามาทำเป็นยาจะทำโดยวิธีการดองด้วยตัวยาอื่นๆ เช่น สมอ เป็นต้น
จึงมักจะเรียกว่า “ยาดองน้ำมูตรเน่า” ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆ ได้หลายชนิด
น้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรคหลักของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งใน “นิสสัย 4”
ที่พระภิกษุจะต้องใช้เป็นประจำ ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะบอกในวันบวชว่า “ให้อยู่โคนไม้เป็นวัตร
บิณฑบาตเป็นวัตรถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรและฉันน้ำมูตรเน่าเป็นยา” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า “บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอจึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต...”
และพระองค์ยังตรัสว่า น้ำมูตรเน่านั้นเป็นของหาง่าย และไม่มีโทษ
2) เภสัช 5
เภสัช 5 หมายถึง ยารักษาโรค 5 ชนิด คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และ น้ำอ้อย
โดยในเบื้องต้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเพื่อรักษาโรคไข้เหลืองหรือดีซ่าน
เนยใส หมายถึง เนยที่มีลักษณะใสซึ่งทำจากน้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ เป็นต้น
เนยข้น หมายถึง เนยที่มีลักษณะข้นซึ่งทำจากน้ำนมของโค แพะ และกระบือ เป็นต้น
น้ำมัน หมายถึง น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงา เมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดมะซาง เมล็ด
ละหุ่ง หรือน้ำมันที่สกัดจากเปลวหรือมันของสัตว์ ได้แก่ น้ำมันเปลวหมี น้ำมันเปลวปลา น้ำมัน
เปลวปลาฉลาม น้ำมันเปลวหมู และ น้ำมันเปลวลา
น้ำผึ้ง หมายถึง น้ำหวานที่มีลักษณะข้นที่ผึ้งเก็บสะสมเอามาจากดอกไม้ต่างๆ
น้ำอ้อย หมายถึง น้ำหวานที่คั้นออกมาจากอ้อย
3) สมุนไพร
กลุ่มยาสมุนไพรที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมีหลายชนิด เช่น ยาสมุนไพรที่ทำจาก
รากไม้, น้ำฝาดของต้นไม้, ใบไม้และต้นไม้, ผลไม้ และ ยางไม้ เป็นต้น
รากไม้ ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู หน่อหวาย หน่อไม้
เหง้าบัว รากบัว หรือรากไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร
น้ำฝาด หมายถึง น้ำที่ได้จากการนำเอาส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ไปสกัดบีบหรือคั้นเอา
น้ำออกมา ได้แก่ น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดกระดอมหรือขี้กา น้ำฝาดบอระเพ็ดหรือ
1 พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 6 ข้อ 87 หน้า 172.
สันตุฏฐิสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิกาต, มก. เล่ม 35 ข้อ 27 หน้า 83.
บ ท ที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 329