การปกครองตนโดยธรรมของพระพุทธเจ้า GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 140
หน้าที่ 140 / 373

สรุปเนื้อหา

การปกครองตนโดยธรรมของพระพุทธเจ้าเริ่มตั้งแต่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ โดยพระองค์ปกครองตนเองด้วยการประพฤติดี ทั้งกาย วาจา และใจ จนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงปกครองตนได้ พระองค์จึงได้ทรงปกครองพุทธบริษัทด้วยการสอนหลักธรรมที่ให้พวกเขานำไปใช้ปกครองตน เมื่อผู้ใดปฏิบัติได้ตามหลักธรรมจนถึงที่สุดก็จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ที่ถือว่าเสร็จสิ้นภาระการปกครองตน สำหรับหลักธรรมสำคัญในการปกครองตนของพระราชามหากษัตริย์มี 4 หมวด คือ ทศพิธราชธรรม, กุศลกรรมบถ 10, จักรวรรดิวัตร, และอปริหานิยธรรม โดยรายละเอียดของทศพิธราชธรรมประกอบด้วย 10 ประการ รวมถึงการให้ทาน, การรักษาศีล, และการมีความอดทน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปกครองทั้งตนเองและผู้อื่น

หัวข้อประเด็น

-การปกครองตนโดยธรรม
-ทศพิธราชธรรม
-พระพุทธเจ้าและการสอนธรรม
-บทบาทของพระมหากษัตริย์ในการปกครอง
-หลักธรรมในการบริหารจัดการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การปกครองตนโดยธรรมของพระพุทธองค์นั้นเริ่มจากเมื่อครั้งที่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ปกครองตนด้วยการประพฤติดีทางกาย วาจาและใจ งดเว้นจากความชั่วทั้งปวง จน กระทั่งตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงปกครองพระองค์เองได้แล้ว จึงทรงปกครอง พุทธบริษัทต่อไป โดยทรงสอนหลักธรรมให้พุทธบริษัทนำไปใช้ปกครองตน เมื่อผู้ใดปฏิบัติ ตามหลักธรรมจนถึงที่สุดแล้วก็จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ซึ่งถือเป็นการเสร็จสิ้นภาระ ในการปกครองตนจากนั้นพระพุทธองค์ก็จะให้ภิกษุหรือภิกษุณีที่ปกครองตนได้แล้วรับหน้าที่ช่วย ปกครองหมู่คณะต่อไป สำหรับหลักธรรมที่สำคัญในการปกครองตนของพระราชามหากษัตริย์ทั้งหลายมี 4 หมวด คือ ทศพิธราชธรรม, กุศลกรรมบถ 10, จักรวรรดิวัตร และอปริหานิยธรรม มีราย ละเอียดดังนี้ 1. ทศพิธราชธรรม ทศพิธราชธรรม หมายถึง ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมหากษัตริย์ 10 ประการ เป็นธรรมที่มีมาแต่เดิมก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังที่พระพุทธองค์ ตรัสถึงธรรมนี้ในชาดกต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนยุคพุทธกาล เช่น เวสสันดรชาดก สุมังคลชาดก กุมมาสปิณฑชาดก มหาหังสชาดก ฯลฯ ทศพิธราชธรรมมีดังนี้ (1) ทาน หมายถึง เจตนาให้วัตถุ 10 เช่น ข้าว, น้ำ เป็นต้น (2) ศีล หมายถึง ศีล 5 (3) การบริจาค หมายถึง การบริจาคไทยธรรม (4) ความซื่อตรง หมายถึง ความเป็นคนตรง (5) ความอ่อนโยน หมายถึง ความเป็นคนอ่อนโยน (6) ความเพียร หมายถึง กรรมคือการรักษาอุโบสถ (7) ความไม่โกรธ หมายถึง ความมีเมตตาเป็นเบื้องต้น (8) ความไม่เบียดเบียน หมายถึง ความมีกรุณาเป็นเบื้องต้น (9) ความอดทน หมายถึง ความอดกลั้น (10) ความไม่คลาดจากธรรม หมายถึง ความไม่ขัดเคือง บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 129
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More