ความเข้าใจเกี่ยวกับนิพพานและความไม่ประมาท GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 81
หน้าที่ 81 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอความหมายของนิพพานและอธิบายอนุปาทิเสสนิพพานที่เกิดขึ้นเมื่ออาสวะกิเลสสิ้นสุด นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความไม่ประมาทในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเจริญอริยมรรค มีการอ้างอิงถึงพระธรรมและบทสอนที่เกี่ยวข้องกับความไม่ประมาทและนิพพานจากพระไตรปิฎก โดยเป็นการกระตุ้นให้นักปฏิบัติได้รับการเตือนสติและความรับผิดชอบต่อการเดินทางทางธรรม รวมถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับความเสื่อมสลายของสังขารและการรักษาความไม่ประมาทให้มั่นคงในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-นิพพาน
-อนุปาทิเสสนิพพาน
-ความไม่ประมาท
-หลักธรรมในพระไตรปิฎก
-อริยมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บางครั้งก็เรียกว่า “นิพพานเป็น” หมายความว่า ในขณะที่อาสวะกิเลสสูญสิ้นไปหมดแล้ว แต่ ยังมีชีวิตอยู่ ยังมีขันธ์ 5 อยู่ มีธรรมกายปรากฏอยู่ในตัว ทำให้รู้สึกเป็นสุขเหมือนอยู่ใน อายตนนิพพานอย่างแท้จริง เพียงแต่ยังอาศัยกายมนุษย์อยู่เท่านั้น 2) อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้ของภิกษุนั้นเป็นสภาพที่กิเลส มีตัณหา เป็นต้น ครอบงำไม่ได้อีก พระเดชพระคุณภาวนาวิริยคุณ อธิบายอนุปาทิเสสนิพพานไว้ว่า เป็นนิพพานที่อยู่ นอกตัว บางครั้งก็เรียกว่า “นิพพานตาย” หมายความว่าเมื่อขันธ์ 5 แตกดับสิ้นเชื้อไม่เหลือ เศษแล้ว ธรรมกายที่อยู่ในสอุปาทิเสสนิพพาน จึงตกศูนย์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ จุดนี้เอง ที่เรียกว่า “อายตนนิพพาน” ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตั้งจิตปรารถนาจะไปถึง 4.3 ความไม่ประมาท ความไม่ประมาท หมายถึง ความไม่เลินเล่อ ไม่พลั้ง ไม่เผลอ มีสติเสมอ ส่วนความ ประมาท คือ การขาดสติ ความพลั้งเผลอ ความไม่ประมาทเป็นหลักธรรมใหญ่ ซึ่งรวมธรรม ทั้งหมดในพระไตรปิฎกไว้ในข้อนี้เพียงข้อเดียว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในบทสูตรว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมถึงความ ประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าสัตว์เหล่านั้น เพราะเป็น รอยใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ไม่ประมาทจึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค มีองค์ 83 ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ก็ได้ตรัสพระ ปัจฉิมวาจาไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความ เสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด” 4 พระภาวนาวิริยคุณ, “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” หน้า 146. * พระภาวนาวิริยคุณ, “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” หน้า 146. ปทสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 30 หน้า 253 ข้อ 132. มหาปรินิพพานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 หน้า 322. 70 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More