ความสุขจากการให้และการบริจาค GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 235
หน้าที่ 235 / 373

สรุปเนื้อหา

การให้เงินช่วยเหลือผู้อื่นเพิ่มความสุขให้กับผู้ให้และผู้รับ จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียและฮาร์วาร์ดพบว่าผู้ที่ให้เงินรู้สึกมีความสุขมากขึ้น การให้ทานหรือการบริจาคคือวิถีที่นำไปสู่ความสุขนี้ ซึ่งยังคงเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา และการปฏิบัติตามหลักอริยทรัพย์ 7 ประการจะนำมาซึ่งความสุขอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและจีนกับหลักในพระไตรปิฎกช่วยให้เห็นภาพรวมของเศรษฐกิจและผลกระทบต่อความสุขที่เกิดจากการให้ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

หัวข้อประเด็น

-ความสุขจากการให้
-การบริจาคและความสุข
-อริยทรัพย์ในพระไตรปิฎก
-เปรียบเทียบเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและจีน
-การให้ในสังคมทุนนิยม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เองใส่ใจในชะตากรรมของคนอื่น ๆ และถือว่าความสุขของคนอื่น ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับตน แม้ว่าตนเองจะไม่ได้อะไรเลย นอกจากความอิ่มเอมใจที่ได้เห็น เมื่อเร็ว ๆ นี้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ร่วมกับวิทยาลัยธุรกิจมหาวิทยาลัย ฮาวาร์ด(Harvard Business school) ได้ทำการทดลองเรื่องความสุขจากการให้โดยสำรวจชาว อเมริกันกว่า 630 คน พบว่า พวกเขารู้สึกเป็นสุขอย่างวัดได้มากขึ้น เมื่อได้แจกเงินให้กับคนอื่น ศาสตราจารย์เอลิสเบธ ดันน์ กล่าวว่า “มันไม่สำคัญว่า คนเราหาเงินได้มากเท่าไร หากแต่คน ที่มีโอกาสให้เงินช่วยเหลือคนอื่น ต่างบอกว่ารู้สึกเป็นสุขมากขึ้น โดยแม้คนที่เอาเงินไปใช้จ่าย เรื่องของตนเองก็ไม่เกิดความรู้สึกเช่นนี้” การให้จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยให้มนุษย์ได้นำ ความพึงพอใจของผู้อื่น มาใส่ไว้ในสมการหรือบัญชีความสุขของตนเอง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็ คือ ความสุขเพิ่มขึ้นของทั้งผู้ให้และผู้รับ จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า การให้ทาน หรือ การบริจาค อันเป็นอริยทรัพย์ที่มีอยู่ ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้ไม่ผันแปรแม้เวลาจะผ่านมากว่า 2,500 ปีแล้ว ใคร ก็ตามที่ได้ศึกษาแล้วนำไปปฏิบัติก็จะได้รับผลเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนสมัยไหน ไม่ว่าเขา จะอยู่ในสังคมแบบทุนนิยมหรือคอมมิวนิสต์ หากเขาปฏิบัติตามหลักอริยทรัพย์นี้ ก็จะได้รับผล คือความสุขจากการปฏิบัติเหมือนกัน และความจริงอริยทรัพย์ยังมีอีก 6 ประการ การบริจาค ทานเป็นเพียงข้อหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะปฏิบัติได้เพียงข้อเดียวยังทำให้คนในสังคมทุนนิยมโดย เฉพาะชาวตะวันตกสัมผัสได้ถึงความสุขขนาดนี้ จึงไม่ต้องกล่าวถึงความสุขอันมากมายที่ จะเกิดขึ้นเมื่อปฏิบัติตามหลักอริยทรัพย์ครบทั้ง 7 ประการ 8.5.3 ระบบเศรษฐกิจทางโลกกับทางธรรม ประเด็นนี้จะเปรียบเทียบระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน และระบบ เศรษฐกิจในพระไตรปิฎก สาเหตุที่กล่าวถึงเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนี้เพราะว่าเป็น เศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 และอันดับ 4 ของโลกตามลำดับ โดยเฉพาะจีนเองเป็น ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสูงมากจนน่าจับตามอง 1 ไทยรัฐ (2551). “ความสุขอยู่ที่การทำบุญทำทาน แม้เพียงเล็กน้อยแต่ ก็เกิดสุขใจยิ่ง” [ออนไลน์]. * เดชรัต สุขกำเนิด (2550). “เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข จากหนังสือเศรษฐศาสตร์ธรรมิกราชา” (2550) กนกศักดิ์ แก้วเทพ, บรรณาธิการ หน้า 96. 224 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More