โรคและยารักษาในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 339
หน้าที่ 339 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ที่ระบุในพระไตรปิฎก เช่น โรคมองคร่อและโรคเบ็ดเตล็ด รวมถึงอาการและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไข้พิษและโรคเบาหวาน เน้นการใช้ยาจากธรรมชาติเพื่อการรักษา โดยอ้างถึงงานของหมอชีวกโกมารภัจจ์ที่สำรวจสิ่งที่สามารถนำมาทำยาได้จากธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติมีศักยภาพในการเป็นยารักษา

หัวข้อประเด็น

-โรคมองคร่อ
-โรคเบ็ดเตล็ด
-ยาในพระไตรปิฎก
-การใช้ยาจากธรรมชาติ
-โรคไข้พิษ
-โรคเบาหวาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

โรคมองคร่อ หมายถึง โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทำให้มี อาการไอเรื้อรัง 6) โรคเบ็ดเตล็ด หมายถึง โรคอื่น ๆ ที่ไม่จัดอยู่ในกลุ่มทั้ง 5 ข้างต้น เช่น โรคไข้พิษ โรคเบา หวาน โรคดีกำเริบ โรคร้อนใน และ โรคในฤดูสารท เป็นต้น โรคไข้พิษ หมายถึงไข้ที่มีพิษกล้าทำให้เชื่อมซึมไปไม่มีเวลาสร่าง ทำให้รู้สึกเหมือนเรือน หมุน ไม่รู้ว่ากลางวันหรือกลางคืน โรคเบาหวาน หมายถึง โรคที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โรคดีกำเริบ หมายถึง ดีที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์แต่ละคนเมื่อดีกำเริบ ดวงตาจะเหลือง เวียนศีรษะ ตัวสั่นและคัน เป็นต้น โรคในฤดูสารท หมายถึง ไข้เหลือง (โรคดีซ่าน ซึ่งเกิดขึ้นในฤดูสารท (ฤดูใบไม้ร่วง) เพราะในฤดูสารทนี้ ภิกษุทั้งหลายเปียกชุ่มด้วยน้ำฝนบ้าง เดินย่ำโคลนบ้าง แสงแดดแผดกล้า บ้าง ทำให้น้ำดีของภิกษุทั้งหลายขังอยู่แต่ในถุงน้ำดี 11.3.3 ยารักษาโรคในพระไตรปิฎก ยารักษาโรคในพระไตรปิฎกเป็นยาที่ได้จากธรรมชาติโดยตรง ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างใน นจงอาจ ธรรมชาติสามารถนำมาใช้เป็นตัวยาได้ทั้งหมด หากเรารู้คุณสมบัติในส่วนที่เป็นยาของมัน ครั้งหนึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาเป็นระยะทาง 1 โยชน์ เพื่อต้อง การหาว่ามีสิ่งใดบ้างที่ไม่อาจจะนำมาทำเป็นยาได้ แต่ท่านไม่พบสิ่งนั้นเลย จากเรื่องนี้จึง จะกล่าวได้ว่า “สรรพสิ่งในธรรมชาติสามารถนำมาทำยาได้หมด” สำหรับยาต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ คือ น้ำมูตรเน่า, เภสัช 5, สมุนไพร, เกลือ, ยามหาวิกฏ และ กลุ่มเบ็ดเตล็ด 1) น้ำมูตรเน่า มูตร แปลว่า น้ำปัสสาวะ คำว่า “น้ำมูตรเน่า” ก็คือน้ำมูตรนั่นเอง เพราะร่างกายของ คนเราได้ชื่อว่าเป็นสิ่งเปื่อยเน่า น้ำมูตรที่ออกมาใหม่ๆ และรองเอาไว้ในทันทีทันใด ก็ได้ชื่อว่า เป็นน้ำมูตรเน่าเพราะออกมาจากร่างกายที่เปื่อยเน่า อรรถกถาจัตตาริสูตร, ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 หน้า 647. 328 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More