การตรากฎหมายในประเทศไทย GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 33
หน้าที่ 33 / 373

สรุปเนื้อหา

การตรากฎหมายในประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติถูกเสนอโดยคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องมีการสนับสนุนจากพรรคการเมืองและสมาชิกอย่างน้อย 20 คน โดยหลังจากนั้นต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาก่อนที่จะนำทูลเกล้าถวายเพื่อการลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย รวมถึงประเภทของกฎหมายที่มาจากฝ่ายบริหารและองค์การมหาชนที่มีอำนาจในการออกกฎหมายตามที่กำหนดไว้เองด้วย

หัวข้อประเด็น

-การตรากฎหมายในประเทศไทย
-ประเภทของกฎหมาย
-พระราชบัญญัติ
-พระราชกำหนด
-กฎหมายลำดับรอง
-องค์การมหาชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 169-178 ร่าง พระราชบัญญัตินั้นจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาได้โดยคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต้องมีมติพรรคที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้สังกัดให้เสนอและต้องมีสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรพรรคนั้นรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน และถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะ ต้องได้คำรับรองจากนายกรัฐมนตรี โดยเบื้องต้นจะให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อน เมื่อ สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้วจึงเสนอให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณา ถ้าสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบ ก็จะนำขึ้นทูลเกล้าถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา แล้วจึงมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย (2) กฎหมายบริหารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งตามระบบ กฎหมายไทยกฎหมายบริหารบัญญัติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พระราชกำหนด และ กฎหมาย ลำาดับรอง “พระราชกำหนด” (พ.ร.ก.) คือ กฎหมายที่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีได้รับอำนาจ จากรัฐธรรมนูญให้ตรากฎหมายแทนฝ่ายนิติบัญญัติ ในกรณีมีเหตุจำเป็นบางประการ พระราช กำหนดจึงมีค่าบังคับเท่ากับพระราชบัญญัติ และอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกพระราชบัญญัติได้ แต่ทั้งนี้ฝ่ายบริหารจะตราพระราชกำหนดได้เฉพาะกรณีพิเศษที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น “กฎหมายลำดับรองเป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารได้รับมอบอำนาจจากฝ่ายนิติบัญญัติให้ ตราบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติภายใต้หลักการที่พระราชบัญญัติกำหนดไว้ โดยฝ่ายบริหารจะตรากฎหมาย ลำดับรองให้ขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทคือพระราชบัญญัติไม่ได้กฎหมายลำดับรองนั้นมีดังต่อไปนี้ คือ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และ ข้อบังคับต่าง ๆ (3) กฎหมายองค์การบัญญัติ เป็นกฎหมายซึ่งออกโดยองค์การมหาชนที่มีอำนาจอิสระ กล่าวคือ มีอำนาจปกครองตนเองภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ องค์การปกครองตนเอง ในปัจจุบันนี้ได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา องค์การปกครองตนเองเหล่านี้ต่างมีอำนาจออกกฎหมายบังคับ แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตปกครองของตนได้ภายในขอบเขตที่พระราชบัญญัติก่อตั้ง องค์การเหล่านั้นกำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีองค์การมหาชนอิสระอื่นอีกที่มีอำนาจออกข้อบังคับ ราชกิจจานุเบกษาคือ หนังสือที่จัดพิมพ์กฎหมายและประกาศต่าง ๆ ของทางราชการที่ออกเผยแพร่เพื่อให้ ประชาชนได้รู้ถึงความมีอยู่และรายละเอียดของกฎหมายและประกาศต่าง ๆ 22 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More