รัฐศาสตร์: ความหมายและองค์ประกอบ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 28
หน้าที่ 28 / 373

สรุปเนื้อหา

รัฐศาสตร์คือสาขาศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและการปกครอง ซึ่งมาจากคำว่า Political Science มุ่งเน้นการเข้าใจการตั้งของรัฐที่มีประชาชน อาณาเขต รัฐบาล และอำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบหลัก การพูดถึงคำว่าสภาพทางภูมิศาสตร์หรือคนเป็นสิ่งสำคัญในการจำแนกคำว่า 'รัฐ', 'ประเทศ' และ 'ชาติ' โดยที่รัฐคือหน่วยการเมืองที่สำคัญที่สุดที่สามารถบริหารกิจการภายในและภายนอกรัฐได้อย่างอิสระ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของรัฐศาสตร์
-องค์ประกอบของรัฐ
-ประชากรในรัฐ
-อาณาเขตของรัฐ
-อำนาจอธิปไตย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.2.2 รัฐศาสตร์ 1.) ความหมายของรัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งในหมวดสังคมศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์และ พฤติกรรมของสังคมทางด้านการเมืองและการปกครอง คำว่า “รัฐศาสตร์” ในภาษาอังกฤษใช้ คำว่า “Political Science” มีรากศัพท์มาจากภาษาเยอรมันว่า “staatswissenschaft” (สตาตวิส เซนซาฟต์) แปลตามตัวอักษรได้ว่า “ศาสตร์แห่งรัฐ” คำว่า “รัฐ” เป็นองค์การทางการเมืองอย่างหนึ่ง หมายถึง กลุ่มคนหรือชุมชนทาง การเมืองซึ่งอาศัยอยู่รวมกันอย่างเป็นระเบียบในดินแดนหรืออาณาเขตแน่นอน มีรัฐบาลและ อำนาจอธิปไตยของตนเอง สามารถบริหารกิจการทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกรัฐโดยอิสระ พ้นจากการควบคุมของรัฐภายนอก “รัฐ” เป็นองค์การทางการเมืองสูงสุดและสำคัญที่สุด ไม่มีองค์การใดเทียบเท่าคำว่ารัฐ ในทางรัฐศาสตร์ หมายถึง ประเทศหรือชาติ แต่เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ประเทศ” เรามักจะเน้น ใน เรื่องสภาพทางภูมิศาสตร์ เมื่อใช้คำว่า “ชาติ” เรามักจะเน้นในเรื่องของคน เช่น เชื้อชาติ เป็นต้น ส่วนเมื่อพูดถึงคำว่า “รัฐ” เรามักจะเน้นถึงสภาวะทางการเมืองคำว่าประเทศและชาติจึงเป็น เพียงส่วนหนึ่งของรัฐเท่านั้น รัฐศาสตร์ จึงหมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองนั่นเอง 2.) องค์ประกอบของรัฐ “รัฐ” ในทางรัฐศาสตร์จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ ประชากร อาณาเขต หรือดินแดนที่แน่นอน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย 2.1) ประชากร คำว่า ประชากรในที่นี้ หมายถึง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัฐใดรัฐหนึ่ง และมีถิ่นฐานที่ทำมาหากินอยู่ในรัฐนั้นเป็นผู้ถือสัญชาติของรัฐนั้นนอกจากนี้ยังรวมถึงคนต่างด้าว ที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้นด้วย 2.2) อาณาเขต หรือ ดินแดนที่แน่นอน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของรัฐ หากมีแต่กลุ่มคนแต่ไม่มีดินแดนอาศัยเป็นของตนเองแล้วก็ไม่อาจถือเป็นรัฐได้ ' ธีรวุฒิ โศภิษฐกุล. (2549). “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์” หน้า 22. บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ในทางโลก DOU 17
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More