บทที่ 12: สรุปความสำคัญของสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 365
หน้าที่ 365 / 373

สรุปเนื้อหา

บทนี้สรุปถึงความสำคัญของสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยสามารถนำพุทธธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประโยชน์ นักศึกษาแนะนำให้ศึกษาพระไตรปิฎกให้ละเอียด และน้อมนำคำสอนมาปฏิบัติ การศึกษาพุทธธรรมช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในชีวิตที่ลึกซึ้ง รวมถึงความรู้ในพระอภิธรรมที่ต้องอาศัยทั้งปริยัติและปฏิบัติในการศึกษา.

หัวข้อประเด็น

-สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
-การศึกษาพุทธธรรม
-การใช้พุทธธรรมในชีวิตประจำวัน
-มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 12 บทสรุป จากสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎกที่นักศึกษาได้เรียนกันมาแล้วนี้ จะเห็นว่าคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น กว้างขวางครอบคลุมหลายศาสตร์ โดยศาสตร์ทั้งปวงในทางโลก นั้นสรุปได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งพุทธธรรมใน พระไตรปิฎกนั้นมีขอบข่ายครอบคลุมทั้ง 3 ศาสตร์นี้ แต่มีความลึกซึ้งและกว้างไกลกว่าศาสตร์ ในทางโลกมาก เพราะเป็นคำสอนที่เกิดจากการรู้แจ้งเพราะการเห็นแจ้ง ด้วยพระปัญญาตรัสรู้ ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความรู้อันเกิดจากภาวนามยปัญญา ไม่ได้เกิดจากการฟัง การอ่าน หรือการคิดและตั้งสมมติฐานเอาด้วยหลักเหตุผลธรรมดา จากวิชาสรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎกนี้ มีข้อคิดที่สำคัญเพื่อให้นักศึกษานำไปปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน 3 ประการ คือ ให้ศึกษาพุทธธรรมในพระไตรปิฎกให้แตกฉาน ศึกษาด้วย การเปรียบเทียบกับศาสตร์ทางโลก และให้นำพุทธธรรมมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 1.ให้ศึกษาพุทธธรรมในพระไตรปิฎกให้แตกฉาน เมื่อเรารู้แล้วว่าคำสอนในพระไตรปิฎกนั้น เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งและกว้างไกลยิ่งกว่า ความรู้ในทางโลกมากอย่างนี้ นักศึกษาทุกท่านจึงควรศึกษาพระไตรปิฎกให้แตกฉาน อย่าง น้อยก็ควรอ่านพระไตรปิฎกให้จบ โดยเฉพาะในส่วนของพระวินัยและพระสูตร ซึ่งมีเนื้อหาไม่ ยากจนเกินไป สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ส่วนพระอภิธรรมนั้นมี เนื้อหาค่อนข้างยาก กล่าวถึงเรื่องจิตและนิพพานเป็นต้น ผู้ศึกษาจะต้องมีความเชี่ยวชาญทั้ง ปริยัติและปฏิบัติ จึงจะเข้าใจความรู้ในพระอภิธรรมได้อย่างถ่องแท้ พระวินัยและพระสูตรนั้นมีทั้งหมด 33 เล่ม หากเป็นฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งมีอรรถกถาอธิบายอยู่ด้วยก็มี 74 เล่ม เนื้อหาดังกล่าวไม่ถือว่าเยอะจนเกินไป เพราะในทาง โลกกว่านักวิทยาศาสตร์แต่ละคน จะตั้งกฎหรือทฤษฎีแต่ละทฤษฎีขึ้นมาได้นั้น จะต้องใช้เวลา เกือบทั้งชีวิตทีเดียว จะต้องศึกษาค้นคว้าจากหนังสือจำนวนมาก และทดลองปฏิบัติอีกนับครั้ง ไม่ถ้วน ศึกษากันโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน กว่าจะได้ความรู้มาแต่ละอย่าง แต่ความรู้ที่ได้มานั้น ก็มักเป็นความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ ต้องมีการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกันเรื่อยไป ต่างกับพุทธธรรม 354 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More