ข้อความต้นฉบับในหน้า
เพราะในปัจจุบันชาวโลกถือว่า การประชุมระดมความคิดก็ดี การให้สมาชิกในองค์กรทุกคน
ช่วยกันเสนอความเห็นอันแตกต่างหลากหลายก็ดี จะช่วยให้งานที่ทำบังเกิดผลดีมากกว่าการที่
ใครคนใดคนหนึ่งคิดงานอยู่คนเดียวแล้วสั่งให้คนอื่นทำตาม
ในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้อยู่พอสมควรคือ กรณีสาวก
นิครณฐ์แตกกันหลังจากนิคัณฐนาฏบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิถึงแก่กรรม ในครั้งนั้นพระอานนท์ได้
กราบทูลเรื่องนี้แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
นิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรมแล้ว..... พวกนิครณฐ์ก็แตกกัน เกิดแยกเป็นสองพวก ฯลฯ
โดยเหตุที่ธรรมวินัยที่นิคัณฐนาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้
ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
ประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่ถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย.... พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าตรัสรับรองว่า... ข้อนี้ย่อมเป็นอย่างนั้น...
ธรรมวินัยที่ผู้ไม่ได้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้จะเป็นธรรมวินัยที่ไม่สมบูรณ์ เพราะ
ศาสดามีความรู้ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่ได้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ดังนั้นธรรมวินัยนั้นจึงมีถูกบ้าง
ผิดบ้าง เมื่อสาวกนำไปปฏิบัติจึงไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ เมื่อไม่พ้นทุกข์ ไม่ได้เข้าถึงสัจจะที่แท้
จริงภายใน สาวกแต่ละคนก็จะตีความประสบการณ์ที่ตนปฏิบัติได้ไปต่าง ๆ กัน ซึ่งยากที่จะตรง
กันเพราะต่างคนต่างทำและวิธีการที่ศาสดาสอนก็ไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้จึงแตกกันเพราะต่างคน
ก็คิดว่าตนเองถูก แต่พระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นพระธรรมวินัยที่
สมบูรณ์ถูกต้อง เพราะพระองค์เป็นสัมมาสัมพุทธะมีความรู้ที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อสาวกสาวิกานำ
คำสอนไปปฏิบัติจนถึงที่สุดแล้วก็จะตรัสรู้ธรรมเหมือนกันตรงกัน
ในประเด็นนี้มีข้อที่น่าศึกษาอีกคือแม้พระอรหันตสาวกคือผู้ที่ได้เข้าถึงสัจจะภายในแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่อนุญาตให้บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ ถามว่าเพราะอะไร จาก
การศึกษาพบว่า พระอรหันตสาวกได้เข้าถึงสัจจะภายในแล้วก็จริง แต่ยังขาดคุณสมบัติหลาย
ประการที่จะบัญญัติสิกขาบทได้ เนื่องจากสิกขาบทที่พระศาสดาบัญญัติไว้ จะต้องเป็นอกาลิโก
จะเป็นแบบแผนใช้ปฏิบัติสืบต่อไปยาวนานอย่างน้อยๆ ก็ 5,000 ปี ด้วยเหตุนี้เองพระอรหันต
สาวกจึงมีคุณสมบัติไม่พอที่จะบัญญัติได้และแม้พระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งมีบารมีมากกว่าพระอรหันต์
ก็ไม่อาจทำได้เช่นกัน หน้าที่นี้เป็นหน้าที่เฉพาะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
1 ปาสาทิกสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 ข้อ 95 หน้า 261.
บ ท ที่
7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 181