หลักการของกฎหมายและการจัดหมวดหมู่ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 35
หน้าที่ 35 / 373

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้มีการกล่าวถึงความสำคัญของหลักกฎหมายทั่วไปในระบบกฎหมายของประเทศ โดยมีการอธิบายถึงจารีตประเพณีที่ใช้ประกอบการพิจารณา นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาของศาลในระบบกฎหมายภาคพื้นยุโรปและเอเชีย ที่พูดถึงอำนาจของคำพิพากษาและหน้าที่ในการตั้งตัวอย่างแบบบรรทัดฐาน รวมถึงการจัดหมวดหมู่ของกฎหมายในสังคมปัจจุบัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายสังคม และกฎหมายเศรษฐกิจ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาในกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์

หัวข้อประเด็น

-หลักกฎหมายทั่วไป
-คำพิพากษาของศาล
-หมวดหมู่ของกฎหมาย
-กฎหมายมหาชน
-กฎหมายเอกชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กว่าสติปัญญาของมนุษย์จะเขียนเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรให้ครอบคลุมครบถ้วนได้ ใน บางกรณีจึงต้องใช้จารีตประเพณีมาประกอบการพิจารณา หลักกฎหมายทั่วไป หลักกฎหมายทั่วไป หมายถึง หลักกฎหมายที่มีอยู่ในระบบกฎหมายของประเทศนั้นโดย ค้นหาได้จากกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศนั้นเอง เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษรอื่นที่มีหลักใหญ่พอที่จะทำให้เป็นหลักอ้างอิง สำหรับนำมาปรับแก่คดี โดยจะใช้ในคดีที่ไม่มีจารีตประเพณี เป็นต้น เป็นหลักในการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 4 วรรค 2 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าไม่มี จารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบท กฎหมายเช่นนั้นไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป” คําพิพากษาของศาล คำพิพากษาของศาลตาม Civil Law อันเป็นระบบกฎหมายภาคพื้นยุโรปและเอเชีย ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย ถือว่าคำพิพากษาโดยทั่วไปไม่ใช่บ่อเกิดของ กฎหมาย นอกจากคำพิพากษานั้นจะเป็นคำพิพากษาบรรทัดฐานคือเป็นคำพิพากษาตัวอย่างที่ คนปฏิบัติตาม เป็นคำพิพากษาที่ดีไม่มีคำพิพากษาอื่นมาคัดค้านหรือโต้แย้ง มีคนรู้จักกันทั่วไป แล้วก็ปฏิบัติตามกันมานาน 3.) หมวดหมู่ของกฎหมาย ในปัจจุบันสามารถจัดหมวดหมู่กฎหมายออกเป็น 4 หมวดด้วยกัน คือ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายสังคม และกฎหมายเศรษฐกิจ กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจสูงสุดในการปกครอง อันประกอบด้วย รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ และกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล (1) กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนในเรื่องบุคคล หนี้ ทรัพย์สินครอบครัว และมรดก 24 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More