การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการบริหารรัฐ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 158
หน้าที่ 158 / 373

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้ได้กล่าวถึงความสำคัญของการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจในโอกาสที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้คนขยันไม่หมดกำลังใจ และคนเกียจคร้านไม่เพิ่มมากขึ้น โดยมีพระโพธิสัตว์กราบทูลถึงความสำคัญของการเลือกเวลาที่เหมาะสมในการช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังเน้นถึงการสร้างทีมงานบริหารประเทศที่มีอิทธิพล และการให้เกียรติแก่ผู้มีบทบาทสำคัญในสังคม เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกดำเนินไปโดยมีกาลเวลา และการประสบความสำเร็จต้องทำในจังหวะที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ
- การเลือกเวลาในการช่วยเหลือ
- การสร้างทีมงานบริหารประเทศ
- การให้เกียรติและไว้วางใจในผู้มีอำนาจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในทางตรงข้าม หากพระราชาไม่เลือกให้ กล่าวคือ ช่วยเหลือหมดทั้งคนขยันและคน เกียจคร้าน หากเป็นเช่นนี้ ความหายนะจะเกิดขึ้น เพราะรัฐมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะช่วยคน ทุกคน ภาวะการเงินการคลังของรัฐจะอ่อนแอ และคนที่ขยันก็จะหมดกำลังใจและเลิกขยัน ทำงานบ้าง คนที่เกียจคร้านอยู่แล้วก็จะได้ใจยิ่งเกียจคร้านหนักมากขึ้น บ้านเมืองก็จะตกอยู่ใน สภาพย่ำแย่ 6.9.5 การช่วยเหลือในโอกาสอันสมควร พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า ในการเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินแก่เกษตรกรก็ดี ใน การเพิ่มทุนแก่พ่อค้าก็ดี และในการพระราชทานเบี้ยเลี้ยงแก่ข้าราชการก็ดี จะต้องให้ในโอกาส อันสมควร กล่าวคือ ต้องให้ในเวลาที่เหมาะสม การให้นั้นจึงจะบังเกิดผลไพบูลย์ ในเรื่องนี้ ภาษาบาลีใช้คำว่า “กาลัญญู” หมายถึง เป็นผู้รู้จักกาล ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะกาลัญญู เป็น 1 ใน 7 ของ สัปปุริสธรรม คือ ธรรมของคนดี ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกดำเนินไปโดยมีกาล เวลาเป็นตัวกำกับ หากเราทำอะไรได้ถูกจังหวะถูกกาลเวลา ก็จะเป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ ได้ ในการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่คนระดับล่าง 3 กลุ่มนี้ก็เช่นกัน ต้องช่วยเหลือใน โอกาสที่เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์มาก เช่น ในช่วงที่ข้าวและธัญญาหารมีราคาแพง จึงเป็น โอกาสอันเหมาะสมที่รัฐบาลจะส่งเสริมเกษตรกรในเรื่องการทำนา และการเพาะปลูกธัญพืช 6.9.6 กุศโลบายสร้างทีมงานบริหารประเทศ หลังจากที่บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ามหาวิชิตราชจึงตรัสถามวิธีบูชามหา ยัญกับพราหมณ์ปุโรหิต พราหมณ์ปุโรหิตจึงกราบทูลให้พระราชาขอความเห็นชอบ และขอ ความร่วมมือเรื่องการบูชามหายัญจากคนระดับบน 4 กลุ่ม เพื่อเป็นบริวารของยัญ สาเหตุที่ ต้องทำเช่นนั้น ก็เพื่อเป็นกุศโลบายในการสร้างทีมงานบริหารประเทศนั่นเอง เพราะคนระดับบน 4 กลุ่มนี้ แม้จะมีจำนวนน้อยแต่มีอิทธิพลมากทางด้านการเมือง มีสติปัญญา ทรัพย์สิน และ เครือข่ายมาก ในขณะที่ 3 กลุ่มระดับรากหญ้า มีจำนวนคนมากมายมหาศาลแต่มีอิทธิพลน้อย การที่พระราชาทำเช่นนี้นั้น เป็นการให้เกียรติแก่พวกเขา เป็นการผูกมัดจิตใจคน ระดับบนให้เกิดความรู้สึกว่า ได้รับความไว้วางใจจากพระราชา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนกลุ่มนี้ขาด พวก เขาต่างก็มีโภคทรัพย์, สติปัญญา, ความรู้, ความสามารถและเครือข่ายมากอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ขาด คือ การได้รับการยอมรับนับถือจากผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน เมื่อพระองค์ทรงเลือกใช้วิธีการ บทที่ 6 รัฐ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 147
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More