ข้อความต้นฉบับในหน้า
10.5.3 การใช้สมาธิของเซอร์ ไอแซ็ค นิวตัน
นิวตันกล่าวถึงความเป็นมาของกฎแรงโน้มถ่วงว่า ขณะที่เขากำลังนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิล
ได้แต่เพียงสงสัยว่าอะไรดูดลูกแอปเปิลให้ตกลงมา แต่ยังคิดกฎแรงโน้มถ่วงไม่ได้ กฎนี้คิดขึ้น
มาได้ขณะที่เขากำลังทำสมาธิภายหลังจินตนาการถึงภาพแอปเปิลกำลังตกจากต้น แล้วใช้
สมาธิไตร่ตรองการตกของลูกแอปเปิลซ้ำแล้วซ้ำเล่า
บางครั้งนิวตันก็เดินครุ่นคิดถึงปัญหาต่าง ๆ อย่างมีสมาธิคล้ายกับไอน์สไตน์ คือ จะเดิน
หมุนไปหมุนมาในสวน และประเดี๋ยวเขาก็ร้องออกมาในทันควันว่า พบแล้ว พบแล้ว ทีนี้เขาก็
โดดขึ้นบันไดห้องทำงานทันที เพื่อจะทำการบันทึกข้อคิดบางอย่าง ทั้งที่ตัวเขายังยืนอยู่ข้างโต๊ะ
โดยไม่นั่งเก้าอี้ให้เรียบร้อย บ่อยครั้งที่นิวตันจะนั่งนิ่ง ๆ อยู่คนเดียวเป็นเวลาหลาย ชั่วโมง จาก
นั้นเขาก็จะพรวดพราดไปที่โต๊ะทำงาน แล้วลงมือเขียนสิ่งที่ค้นพบเป็นชั่วโมง โดยไม่ยอม แม้แต่
จะลากเก้าอี้มานั่งให้สบาย
นิวตัน กล่าวถึงการใช้สมาธิในการไตร่ตรองเรื่องต่าง ๆ ว่า ฉันเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตรง
หน้าอย่างไม่ลดละ หรือจับเอาเรื่องที่ศึกษานั้นมาไว้ตรงหน้า และคอยจนกระทั่งแสง
แรก(ปัญญา) เริ่มปรากฏช้าๆ ทีละน้อย ทีละน้อย จนกระทั่งเริ่มมองเห็นทางอย่างเลือนราง
แล้วมันก็ค่อยๆ สว่างขึ้นทุกทีจนกระทั่งครบบริบูรณ์และชัดเจน
นอกจากไอน์สไตน์ และนิวตันแล้วยังมีตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์หรือนักประดิษฐ์อีก
หลายท่านที่ใช้สมาธิช่วยในการทำงานของตน นโปเลียน ฮิลล์ นักเขียนผู้มีชื่อเสียงชาว
อเมริกันกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งชื่อ ดร.เกตส์ ว่า
วันหนึ่งเขาเดินทางไปเยี่ยม ดร.เกตส์ ด้วยธุระบางอย่าง เมื่อไปถึงเลขานุการส่วนตัว
ของท่านบอกว่า “เสียใจจริงๆ ค่ะ ดิฉันไม่สามารถอนุญาตให้คุณเข้าไปรบกวน ดร.เกตส์ได้ใน
ตอนนี้”
เขาถามต่อว่า “คุณคิดว่าจะนานสักเท่าไรครับ กว่าที่ผมจะเข้าพบท่านได้”
เลขานุการ ตอบว่า “โอ... ดิฉันบอกไม่ได้หรอกค่ะ ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด แต่อาจจะ
นานถึง 3 ชั่วโมงก็ได้นะคะ ดร.เกตส์ กำลังนั่งรอคอยความคิดสร้างสรรค์อยู่ค่ะ”
3
1 ชัยพฤกษ์ เพ็ญวิจิตร(2545). “พุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์” เล่มหนึ่ง หน้า 65-66, 72.
* สม สุจีรา (2550). “ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น” หน้า 148.
ชัยพฤกษ์ เพ็ญวิจิตร(2545). “พุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์” เล่มหนึ่ง, หน้า 65, 71, 72, 74.
บท ที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
DOU 287