ข้อความต้นฉบับในหน้า
(3) การตั้งสมมติฐานเมื่อได้คำถามที่เหมาะสมแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะลองเดาคำตอบ
การเดาหรือการคาดการณ์คำตอบนั้นไม่ใช่เป็นการเดาสุ่ม แต่เป็นการเดา
ว่าควรจะเป็นอย่างไร
โดยใช้เหตุผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
(4) การทดลอง เมื่อได้สมมติฐานแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะทำการทดลอง เพื่อพิสูจน์
สมมติฐานนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็จะตั้งสมมติฐานใหม่
(5) การสร้างทฤษฎี นักวิทยาศาสตร์จะอาศัยหลักฐานจากการทดลองเป็นพื้นฐาน
ในการสร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้น ทฤษฎีที่สร้างขึ้นนี้สามารถใช้ทำนายปรากฏการณ์ได้ การทำนาย
จะไม่บอกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน
3.) ประเภทความรู้ทางวิทยาศาสตร์
แต่จะบอกเป็นอัตราส่วนของความเป็นไปได้
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ ข้อเท็จจริง มโนคติ
หลักการ สมมติฐาน ทฤษฎี และ กฎ
(1) ข้อเท็จจริง เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต ข้อเท็จจริงนั้นจะคงความเป็นจริงอย่าง
นั้นเสมอคือ สามารถทดสอบได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง เช่น น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เป็นต้น
(2) มโนคติ มาจากภาษาอังกฤษว่า “concept” แปลว่า ความคิดรวบยอด หรือ มโน-
ทัศน์ ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจากความคิดโดยสรุปของบุคคลที่มีต่อวัตถุหรือปรากฏการณ์หลังจาก
มีประสบการณ์ตรงกับสิ่งนั้น ด้วยการนำข้อเท็จจริงมาผสมผสานกัน
(3) หลักการเป็นความรู้ที่ผสมผสานมโนคติตั้งแต่ 2 มโนคติเข้าด้วยกันและสามารถใช้
เป็นหลักในการอ้างอิงได้ เช่น หลักการที่ว่า “แม่เหล็กขั้วเดียวกันจะผลักกัน ขั้วต่างกันจะดูดกัน”
มาจากมโนคติที่ว่า แม่เหล็กขั้วบวกจะผลักกับแม่เหล็กขั้วบวก และ มโนคติที่ว่า แม่เหล็กขั้วบวกจะ
ดูดกับแม่เหล็กขั้วลบ เป็นต้น
(4) สมมติฐาน เป็นความรู้ที่เกิดจากการคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่กำลังศึกษาอยู่
โดยอาศัยความรู้เดิมเป็นพื้นฐานในการคาดคะเน เช่น “โลกและดวงจันทร์กำเนิดมาพร้อม ๆ กัน”
(5) ทฤษฎี เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเป็นข้อความใช้
อธิบายหลักการ กฎ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
ในการแสวงหาความจริงนั้นนักวิทยาศาสตร์ใช้การสังเกต การสรุปรวบรวมข้อมูล
การคาดคะเน ซึ่งทำให้เกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ข้อเท็จจริง มโนคติ หลักการ
สมมติฐาน และกฎ แต่การจะรู้เพียงแต่ว่า ข้อเท็จจริงหรือหลักการเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น
บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ใ น ท า ง โ ล ก DOU 35