แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 327
หน้าที่ 327 / 373

สรุปเนื้อหา

บทนี้นำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ นักเรียนจะได้ศึกษาการดูแลสุขภาพ การรักษาสุขภาพ และการเปรียบเทียบแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์ปัจจุบัน การดูแลสุขภาพคือการป้องกันการเจ็บป่วย ในขณะที่การรักษาสุขภาพคือการเยียวยา อย่างไรก็ตามทั้งสองจำเป็นต้องมีการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมกัน ซึ่งสอดคล้องกับการแพทย์ในยุคปัจจุบันที่เริ่มมีความสนใจในด้านจิตใจมากขึ้น ทั้งในแง่ของการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของจิตใจต่อสุขภาพ และการใช้วิธีการที่เน้นคุณค่าทางจิตใจในการรักษา

หัวข้อประเด็น

-แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก
-การดูแลสุขภาพ
-การรักษาสุขภาพ
-การเปรียบเทียบกับการแพทย์ปัจจุบัน
-ความสำคัญของจิตใจในการรักษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 11 แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก 11.1 ภาพรวมแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก ในบทนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้เรื่องแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก ซึ่งแบ่งเนื้อหาออก เป็น 3 ประเด็น คือ การดูแลสุขภาพในพระไตรปิฎก การรักษาสุขภาพในพระไตรปิฎก และ เปรียบเทียบแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์ยุคปัจจุบัน การดูแลสุขภาพ หมายถึง การดูแลร่างกายและจิตใจให้อยู่ในภาวะปกติคือแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ซึ่งต่างกับการรักษาสุขภาพ ซึ่งหมายถึง การเยียวยารักษาสุขภาพที่ไม่อยู่ใน ภาวะปกติอันเกิดจากการเจ็บป่วยให้กลับสู่ภาวะปกติคือหายป่วย การดูแลสุขภาพจึงเป็นการ ป้องกันการเจ็บป่วยนั่นเอง หลักสำคัญในการดูแลและรักษาสุขภาพตามหลักพระพุทธศาสนาซึ่งปรากฏอยู่ใน พระไตรปิฎกนั้น คือ ต้องดูแลและรักษาทั้ง 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ เพราะมนุษย์และสัตว์ ทั้งหลายประกอบขึ้นจาก 2 ส่วน คือ ร่างกายกับจิตใจ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ส่งผลกระทบต่อ กันและกัน ไม่อาจจะแยกกันได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพจึงต้องดูแลรักษาทั้ง ร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน การดูแลและรักษาทางร่างกายนั้นก็มีหลักการและวิธีการคล้ายๆ กับการแพทย์ยุค ปัจจุบัน ส่วนการดูแลและรักษาด้านจิตใจนั้น จะใช้ธรรมโอสถคือ “บุญ” เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง รักษาให้จิตใจมีความบริสุทธิ์ ผ่องใส และสว่างไสว ในประเด็นสุดท้ายจะเป็นการเปรียบเทียบแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์ยุค ปัจจุบัน การแพทย์ยุคปัจจุบันในที่นี้ คือ การแพทย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แผน คือ การแพทย์แผนตะวันตก และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ การเปรียบเทียบนั้นจะชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มของการแพทย์ยุคปัจจุบันเริ่มให้ความ สำคัญกับเรื่องจิตใจมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากมีงานวิจัยจำนวนมากที่สรุปผลว่า “จิตใจ” มีผล ต่อสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับหลักในพระพุทธศาสนาที่ว่า หากมีจิตใจดีจิตใจเข้มแข็งด้วยการ 316 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More