ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นต้นแบบแก่คนอื่นในสังคม โดยการสนับสนุนสิ่งที่เขาขาดอย่างเหมาะสมต่อกลุ่มคน และให้ใน
โอกาสอันสมควร
2.2) พัฒนาจิตใจหรือศีลธรรมของประชาชนโดยใช้กุศลกรรมบถ 10 อันเป็นมาตรฐาน
ของคนดีในยุคนั้น
การพัฒนาประเทศนั้น จะต้องพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับจิตใจเสมอ การพัฒนานั้นจึง
จะส่งผลยั่งยืน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เปรียบเสมือนไม้ 2 ท่อนที่วางพิงกันไว้ หากเอาอันใดอัน
หนึ่งออกอีกอันหนึ่งก็ต้องล้มไปด้วย กล่าวคือ หากมุ่งเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจไม่นำพาเรื่องจิตใจ
คือศีลธรรม คนก็จะขาดคุณภาพเพราะอำนาจกิเลสที่ไม่มีศีลธรรมควบคุม ส่งผลให้เกิดปัญหา
ต่าง ๆ มากมาย เช่น การคอร์รัปชัน เป็นต้น อันจะเป็นเหตุให้เศรษฐกิจย่ำแย่ไปด้วย แต่หาก
พัฒนาเพียงศีลธรรมไม่ส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจ คนก็จะอดอยากและความอดอยากนี้ ก็จะ
กดดันให้คนทำผิดศีลด้วยการลักขโมย เป็นต้น ศีลธรรมก็ไม่อาจจะตั้งอยู่ได้เช่นกัน
3. การแก้ปัญหาและปกครองประเทศนั้นเป็นงานใหญ่ พระราชาไม่อาจจะทำเพียง
ลำพังได้ จำเป็นจะต้องสร้างและพัฒนาทีมบริหารขึ้นมาจากกลุ่มคนระดับบน 4 กลุ่ม ซึ่งเป็นผู้
มีอิทธิพลในสังคม
3.1) การสร้างทีมนั้นใช้การ “ให้เกียรติ” ซึ่งเป็นสิ่งที่คน 4 กลุ่มนี้ขาดและต้องการ วิธี
การให้เกียรติของพระราชาคือ การเชิญคนทั้ง 4 กลุ่มนี้มา แล้วขอความเห็นชอบและขอความ
ร่วมมือในกิจการต่าง ๆ ที่จะต้องจัดทำ
3.2) การพัฒนาทีมบริหารนั้น ทำได้ด้วยการที่พระราชาต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้
เขาปฏิบัติตาม เช่น การที่พระราชาบริจาคทานแก่พสกนิกรนั้น ก็เป็นแบบอย่างให้แก่คนทั้ง 4
กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นผู้ที่มีทรัพย์มากทำตามด้วย ด้วยวิธีการนี้ จะทำให้ใจของผู้นำประเทศและทีม
บริหารกว้างขวางครอบคลุมทั้งประเทศ เท่ากับเป็นการป้องกันการหาทรัพย์โดยมิชอบไปในตัว
ซึ่งจะส่งผลให้พสกนิกรเป็นสุขกันทั่วหล้า
บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 153