ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. รัฐและสถาบันการเมืองการปกครองในยุคแรก เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสังคม
ผู้ปกครองมีหน้าที่ดูแลประชาชนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติ
ขึ้น พระองค์ตรัสสอนเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ไว้ 3 ระดับ ดังกล่าวแล้วในบทที่ 5 เป้าหมาย
การเมืองการปกครองในทางพระพุทธศาสนา จึงอยู่ที่การสร้างสภาพเอื้อให้มนุษย์ในสังคม
ประพฤติปฏิบัติตนเพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิตทั้ง 3 ระดับได้โดยง่าย
2. การปกครองประเทศ จะต้องส่งเสริมเรื่องศีลธรรมและเศรษฐกิจควบคู่กันไป จะ
ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ ศีลธรรมเป็นประดุจแก่น ส่วนเศรษฐกิจเปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้
เศรษฐกิจที่ดีจะเป็นรากฐานให้คนประพฤติศีลธรรมได้สะดวก ในขณะที่ศีลธรรมจะควบคุม
และกำจัดกิเลสของมนุษย์ให้เบาบางลงและหมดไปในที่สุด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาทราบและเข้าใจหลักรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎกดังนี้ คือ การกำเนิดรัฐ
เป้าหมายของการเมืองการปกครอง, หลักธรรมาธิปไตยหัวใจของรัฐศาสตร์, หลักธรรมสำคัญ
ในการปกครอง, ความสำคัญของเศรษฐกิจต่อการปกครอง, ตัวอย่างการปกครองของพระเจ้า
มหาวิชิตราช และการเปรียบเทียบรัฐศาสตร์ทางโลกกับทางธรรม
บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 121