การติเตียนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการประพฤติพรหมจรรย์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 185
หน้าที่ 185 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการติเตียนของพระพุทธเจ้าต่อพระสุทินน์ที่ทำผิดศีลในการเสพเมถุน โดยพระพุทธเจ้าตักเตือนว่า การกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสมสำหรับผู้บวชและมีผลต่อความเลื่อมใสของชุมชน โดยพระสุทินน์ตอบรับว่าได้ทำจริง และพระพุทธเจ้าได้ให้ข้อคิดเปรียบเทียบความเห็นแก่ตัวและโทษของการเสพเมถุนกับผลกระทบที่ตามมา ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าต้องการให้ผู้ปฏิบัติตนมีจิตบริสุทธิ์เพื่อการบรรลุนิพพาน มิใช่ไปหลงในกาม จะนำไปสู่การตกต่ำ

หัวข้อประเด็น

-การติเตียนของพระพุทธเจ้า
-การประพฤติพรหมจรรย์
-ความสำคัญของการสละกาม
-ผลกระทบของการเสพเมถุน
-คำสอนทางศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ภิกษุที่เป็นสหายของพระสุทินน์เห็นอาการของท่านแล้วจึงสอบถามสาเหตุ เมื่อทราบ แล้วจึงติเตียนว่า อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วเพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อความกำหนัด เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อความดับทุกข์ เพื่อนิพพานมิใช่หรือ อาวุโส การละกาม การกำจัดความกระหายในกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส บอกไว้แล้วมิใช่หรือ อาวุโส การกระทำของท่านนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส และเป็นไปเพื่อความเสื่อมจากความเลื่อมใสของชนที่เลื่อมใสแล้ว ภิกษุสหายเหล่านั้นได้ติเตียนท่านพระสุทินน์อย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วทรงสอบถามพระสุทินน์ว่า “ดูก่อนสุทินน์ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรมในภรรยาเก่าจริงหรือ” ท่านพระสุทินน์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ไว้ดีอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า “ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดี แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ตลอดชีวิตเล่า” ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในปากงูเห่า ยังดีกว่าองค์กำเนิดที่เธอสอด เข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชนยังดี กว่า องค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย เพราะบุคคลผู้สอดองค์ กำเนิดเข้าในปากงูเห่านั้น จึงมีความทุกข์เพียงแค่ตาย แต่ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น ตายไปแล้ว จะพึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอได้ต้องอสัทธรรมอันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นต่ำ อัน ชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่จึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่ กระทำอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ส่วนคนที่เลื่อมใสแล้วก็จะเสื่อมจากความเลื่อมใส 174 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More