หลักธรรมในการปกครองคน GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 145
หน้าที่ 145 / 373

สรุปเนื้อหา

หลักธรรมในการปกครองคนมี 2 ประเภท: ประเภทแรก คือ หลักในการยึดเหนี่ยวซึ่งประกอบด้วย สังคหวัตถุ 4 และ อคติ 4 เพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคี ซึ่งผู้ปกครองควรทำการให้ทาน เจรจาถ้อยคำที่น่ารัก ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน และมีตนเป็นกลางในทุกสถานการณ์ ประเภทที่สองคือ กฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตาม เช่น กุศลกรรมบถ 10 และ ศีล 5 ที่ช่วยให้ผู้คนมีชีวิตที่เป็นระเบียบและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ

หัวข้อประเด็น

-หลักธรรมในการปกครอง
-สังคหวัตถุ 4
-อคติ 4
-กุศลกรรมบถ 10
-ศีล 5

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6.6.2 หลักธรรมในการปกครองคน หลักธรรมในการปกครองคนมี 2 ประเภทโดยประเภทที่ 1 คือ หลักในการยึดเหนี่ยว น้ำใจคน สร้างความสมัครสมานสามัคคีกัน ป้องกันการแตกความสามัคคี ได้แก่ สังคหวัตถุ 4 และ อคติ 4 เป็นต้น และประเภทที่ 2 คือกฎระเบียบสำหรับให้คนที่อยู่ภายใต้การปกครอง ปฏิบัติตาม ได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 และ ศีล 5 เป็นต้น 1. สังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุ แปลว่า หลักการสงเคราะห์กัน เป็นคุณเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ซึ่งเป็น หลักปฏิบัติที่ผู้ปกครองต้องมีเพื่อใช้ในการยึดเหนี่ยวน้ำใจประชาชน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ในกาลเมื่อเราเป็นพระราชาพระนามว่าเอกราช เรา อธิษฐานศีลอันบริสุทธิ์ยิ่ง ปกครองแผ่นดินใหญ่ สมาทานกุศลกรรมบถ 10 ประการอย่าง เคร่งครัด สงเคราะห์มหาชนด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ ได้แก่ ทานคือการให้ ปิยวาจาคือเจรจา ถ้อยคำน่ารัก อัตถจริยาคือประพฤติประโยชน์ และ สมานัตตตาคือความมีตนเสมอในธรรม และในบุคคล (1) ทาน แปลว่า การให้ สำหรับผู้ปกครองแล้วการให้นั้น ถือว่ามีความสำคัญเป็น อย่างยิ่ง เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก เมื่อผู้ปกครองหมั่นให้ทานแก่พสกนิกรอยู่เสมอ ก็จะเป็นที่รัก ของปวงชน เมื่อเป็นที่รักแล้วก็จะง่ายต่อการปกครอง (2) ปิยวาจา แปลว่า เจรจาถ้อยคำน่ารัก ไพเราะเสนาะโสต เป็นที่ดึงดูดใจ เหนี่ยวรั้ง ใจเป็นที่สมัครสมานในกันและกัน ไม่เป็นที่กระทบกระเทือนในกันและกัน ผู้ฟังฟังแล้วอยากจะ ฟังอีกอยู่ร่ำไป ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ปกครอง เพราะจะสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ ประชาชนสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันได้ (3) อัตถจริยา แปลว่า ประพฤติประโยชน์ สำหรับผู้ปกครองหมายถึงการประพฤติตน ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนพลเมือง ไม่เอาแต่ความสุขส่วนตนผู้เดียว ให้ความสุขแก่ราษฎร โดยทั่วหน้ากัน (4) สมานัตตตา แปลว่า ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้น ๆ กล่าวคือ เมื่อเราเข้าไปในหมู่ไหน พวกไหน ก็เป็นหมู่นั้นพวกนั้นไปหมด ไม่แตกแยกจากกัน นี้คือความ 1 ปรมัตถทีปนี, อรรถกถาขุททกนิกาย จริยาปิฎก, มก. เล่ม 74 ข้อ 34 หน้า 535. 134 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More