นามขันธ์และความสัมพันธ์ระหว่างใจและสมอง GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 104
หน้าที่ 104 / 373

สรุปเนื้อหา

นามขันธ์หมายถึงใจที่ประกอบด้วยเวทนา, สัญญา, สังขาร, และวิญญาณ ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียว ขันธ์ 5 มีสถานะเป็นไตรลักษณ์แสดงถึงความไม่เที่ยงและทุกข์ ใจและร่างกายมีความสัมพันธ์กันแยกกันไม่ได้ซึ่งใจเป็นธาตุละเอียดไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อ ในขณะที่สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย แม้มีคนคิดว่าสมองคือใจ แต่จริงๆ แล้วเป็นคนละอย่างกัน ใจเป็นศูนย์กลางการบังคับบัญชาทุกอย่าง จึงมีอิทธิพลมากกว่าสมอง

หัวข้อประเด็น

-ขันธ์ 5
-ความสัมพันธ์ระหว่างใจและสมอง
-อธิบายความไม่เที่ยง
-หลักการเจริญภาวนา
-ความสำคัญของใจในปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นามขันธ์ หมายถึง ใจ ประกอบด้วย เวทนาคือรู้สึกหรือเห็น, สัญญาคือจำ, สังขารคือ คิด และวิญญาณคือรู้ ทั้ง 4 อย่างนี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกันเรียกว่า ใจ ขันธ์ 5 นั้นมีสภาวะเป็นไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา กล่าวคือ ขันธ์ 5 มีการเปลี่ยนแปลงจากเหตุปัจจัยที่เข้ามา ทำให้มีสภาวะที่ไม่เที่ยง และขันธ์ 5 มีความเสื่อมอยู่ ตลอดเวลา ทำให้เป็นทุกข์ ทั้งทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ สลับไปมาตลอด ซึ่งเราไม่สามารถ บังคับบัญชาขันธ์ 5 ไม่ให้เสื่อมหรือให้ขันธ์ 5 นี้คงสภาวะเดิมได้ ดังนั้นขันธ์ 5 จึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ธรรมชาติที่สำคัญประการหนึ่งของรูปกับนาม คือ มีความสัมพันธ์กันอิงอาศัยซึ่งกันและ กันรูปคือร่างกายอาศัยใจจึงมีชีวิตอยู่ได้ ส่วนนามคือใจอาศัยร่างกายเป็นที่อาศัย ทั้งกายและใจจึง สัมพันธ์กันอิงอาศัยกันแยกกันไม่ได้ อุปมาเหมือนท่อนไม้สองอันที่พิงกันอยู่จะแยกอันใดอันหนึ่ง ออกไปไม่ได้ เพราะอีกอันหนึ่งจะไม่อาจตั้งอยู่ได้ต้องล้มลง ใจไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกันกับสมอง นักวิทยาศาสตร์และชาวโลกจำนวนไม่น้อยที่คิดว่า “ใจ” กับ “สมอง” เป็นอย่างเดียวกัน ความจริงแล้วเป็นคนละอย่างกัน สมองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ส่วนใจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ แยกออกมาต่างหาก แต่อาศัยอยู่ในร่างกายและมีความสัมพันธ์กับร่างกาย เนื่องจากใจนั้นเป็น ธาตุละเอียดมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ จะเห็นได้ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาเท่านั้น ชาวโลกจึงคิดว่า เหตุที่คิดอย่างนี้ สมองนั่นแหละคือใจซึ่งเป็นศูนย์รวมการบังคับบัญชาทั้งหมดของทุกชีวิต เพราะสมองเป็นธาตุหยาบมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ สมองจะทำงานประสานกับใจโดยมีใจเป็นศูนย์กลางการบังคับบัญชา เห็นหรือรู้สึก จำ คิด และรู้ทั้งหมดรวมอยู่ที่ใจไม่ได้อยู่ที่สมอง คนเราจะฉลาดหรือโง่อยู่ที่ดวงปัญญาในใจเป็นหลัก สมองเป็นองค์ประกอบรองเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งของการแสดงออกทางปัญญาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่นำสมองของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์มาศึกษาวิจัยจึงไม่ได้พบอะไรมากไม่อาจจะสรุป ได้อย่างชัดเจนว่า ไอน์สไตน์ฉลาดกว่าชาวโลกเพราะอะไร เพราะปัจจัยหลักของความฉลาดไม่ได้ อยู่ที่สมองแต่อยู่ที่ใจต่างหาก 1 พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (2537), มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ 9 “ขันธ์ 5 เป็น ภาระอันหนัก” หน้า 124. และพระณรงค์ ทนฺตจิตฺโต. (2541).สาระสำคัญพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กัณฑ์ที่ 1 “หลักการเจริญภาวนา สมถวิปัสสนากรรมฐาน” หน้า 2. บทที่ 5 ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 93
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More