ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่กุมาร พิษจงคลาย กุมารนี้จงรอดชีวิตเถิด”
พร้อมกับสัจจกิริยานั้น พิษในกายตอนบนของกุมารก็ตกเข้าแผ่นดินหมด กุมารนั้น
ลืมนัยน์ตาขึ้นดูมารดาบิดาเรียกว่า “แม่” แล้วพลิกนอน พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกับสหายว่า กำลัง
ของเราทำได้เท่านั้น ท่านจงทำสัจจกิริยาบ้างเถิด มัณทัพยะรับคำแล้ววางมือลงที่หน้าอกของบุตร
แล้วได้กล่าวคาถาว่า
“ในเวลาที่สมณพราหมณ์มาขอพักอยู่ที่บ้านของเรา บางครั้งเราไม่พอใจจะให้พักเลย
แต่เราก็ตัดใจให้พักได้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่บุตรของเรา พิษจึงคลายออก
บุตรของเราจงรอดชีวิตเถิด”
เมื่อบิดาทำสัจจกิริยาแล้ว พิษในกายของบุตรเหนือสะเอวก็ตกเข้าแผ่นดิน กุมารลุกขึ้น
นั่งได้แต่ยังยืนไม่ได้ บิดาจึงกล่าวกะมารดาของกุมารนั้นว่า ที่รัก เจ้าจงทำสัจจกิริยาให้บุตรลุก
ขึ้นเดินได้ มารดากล่าวว่า ความสัตย์ของฉันก็มีอยู่อย่างหนึ่งแต่ไม่อาจกล่าวต่อหน้าท่าน สามี
กล่าวว่า ถึงอย่างไรก็กล่าวไปเถอะที่รัก นางรับคำแล้วจึงได้กล่าวคาถาว่า
“ลูกรัก อสรพิษที่ออกจากโพรงกัดเจ้า ไม่เป็นที่รักของแม่ฉันใด บิดาของเจ้าก็ไม่เป็น
ที่รักของแม่ฉันนั้น ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่บุตรของเรา พิษจงคลายออก บุตร
ของเรา จงรอดชีวิตเถิด” พร้อมกับสัจจกิริยานั้นเอง พิษทั้งหมดก็ตกลงเข้าแผ่นดิน กุมารนั้นจึง
ลุกขึ้นยืนและเดินได้เป็นปกติ
เรื่องการรักษาอาพาธด้วยการทำสัจจกิริยานั้นยังมีอีกหลายตัวอย่าง ซึ่งนักศึกษา
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในพระไตรปิฎก
การรักษาอาพาธด้วยวิธีนี้ให้ได้ผลดังตัวอย่างที่กล่าวมานั้น มีปัจจัยสำคัญอยู่อย่าง
น้อย 2 ประการ คือ สัจจบารมีของผู้ทำสัจจกิริยามีมากน้อยเพียงใด และบุญบาปในตัวของผู้
อาพาธ หากสัจจบารมีของผู้ทำสัจจกิริยามีมาก บุญในตัวของผู้อาพาธมีมาก และบาปที่ส่งผล
ให้เกิดการอาพาธเบาบางแล้ว การรักษาอาพาธด้วยวิธีนี้ก็จะสำเร็จผลเป็นอัศจรรย์ แต่ถ้าผู้ให้
การรักษามีสัจจบารมีน้อย บุญในตัวของผู้อาพาธน้อย แต่บาปที่ส่งผลให้อาพาธยังมีหนาแน่น
การรักษาด้วยวิธีนี้ก็ยากจะสำเร็จผล
2.4) การรักษาอาพาธด้วยบุญสร้างและกวาดโรงฉัน
ครั้งหนึ่ง พระอนุรุทธเถระได้ไปเมืองกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป พระญาติทั้ง
มัณฑพยชาดก, ขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่ม 59 หน้า 831- 841.
บทที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 341