ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในประวัติศาสตร์มีเหตุการณ์สำคัญเรื่องการโต้วาทธรรมของพุทธบริษัทเพื่อปกป้อง
พระพุทธศาสนามากมาย ซึ่งจะเล่าย้อนตั้งแต่ยุคใกล้กับปัจจุบันไปจนถึงยุคพุทธกาลดังนี้
สมัยพระคุณานันทเถระ แห่งประเทศศรีลังกา โดยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2048 – 2491
เกาะศรีลังกาตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติตะวันตกคือ ฮอลันดา โปรตุเกส และอังกฤษ
ชาวพุทธถูกกดขี่ข่มเหงอย่างหนัก รัฐบาลสั่งห้ามชาวพุทธประชุมกันประกอบพิธีกรรมทาง
ศาสนาโดยเด็ดขาด ศาสนิกอื่นเขียนหนังสือและบทความโจมตีคำสอนในพระพุทธศาสนา
อย่างต่อเนื่อง ภัยคุกคามชาวพุทธอยู่นานหลายปีจนกระทั่งหนูน้อย “ไมเคิล” ถือกำเนิดขึ้น
และได้ออกบวชเป็นพวกคุณานันทะศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนา ท่านได้อาสาเป็นทนาย
แก้ต่างให้พระพุทธศาสนา ด้วยการโต้วาทะกับนักบวชจากศาสนาอื่นที่มาจาบจ้วงคำสอนใน
ศาสนาพุทธจนได้รับชัยชนะ ท่านปราบนักบวชเหล่านั้นได้อย่างราบคาบและสามารถฟื้นฟู
พระพุทธศาสนาในศรีลังกาให้เจริญขึ้นอีกครั้ง
เมื่อครั้งที่พระถังซัมจั๋งศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา มีนักปรัชญาลัทธิโลกายตะ
หรือลัทธิวัตถุนิยมมาท้าโต้วาทีกับคณาจารย์แห่งนาลันทา ทางมหาวิทยาลัยจึงส่งพระถังซัมจั๋ง
ไปโต้ ปรากฏว่าได้รับชัยชนะ กลับใจนักปรัชญาผู้นั้นให้มานับถือพระพุทธศาสนาได้
และที่สำคัญประมาณ พ.ศ. 1243 นักบวชฮินดูชื่อ ศังกระ ได้ประกาศโต้วาทะกับพระ
ภิกษุในพระพุทธศาสนา แต่ว่ายุคนั้นพระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลงมาก พระภิกษุขาดการ
ศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติทำให้ไม่มีพระภิกษุรูปใดสามารถเป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนา
ได้ ในครั้งนั้นพระภิกษุในเบงกอลจำนวน 500 รูป ถึงกับเปลี่ยนศาสนาไปนับถือศาสนาฮินดู
จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ชี้ให้เห็นว่าการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องฝึกพุทธบริษัทให้ถึงพร้อมด้วย
ปริยัติปฏิบัติและปฏิเวธนั้น ก็เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาจากการถูกเบียดเบียนหรือจาบจ้วง
จากศาสนิกอื่น ซึ่งจะมีผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
ในสมัยพระเจ้ามิลินท์ก็เช่นกัน มีบันทึกไว้ในคัมภีร์มิลินทปัญหาว่า หลังจากพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วประมาณ 500 ปี มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่าพระเจ้า
มิลินท์ปกครองเมืองสากลนคร เป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความสามารถในการโต้วาทะ
99.
1 กองวิชาการสถาบันพัฒนาบุคลากร (2548). “คุณานันทเถระผู้กอบกู้พระพุทธศาสนาในศรีลังกา” หน้า91-
* เสถียร โพธินันทะ (2539). “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” หน้า 207.
* เสถียร โพธินันทะ. (2540), “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค 1. หน้า 158.
270 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก