ข้อความต้นฉบับในหน้า
กินดีเป็นลำดับแรก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ลืมพัฒนาศีลธรรมอันเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองประเทศ
เนื้อหาในหัวข้อนี้อ้างอิงจาก “กูฏทันตสูตร” ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบูชามหายัญของ
พระองค์ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการปกครองได้เป็นอย่างดี พระสูตรนี้ พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าตรัสให้กูฏทันตพราหมณ์ฟัง โดยครั้งหนึ่ง กฏทันตพราหมณ์ผู้ปกครองบ้านชื่อ “ขาณุมัต
ประสงค์จะบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์ เป็นต้น แต่มีความสงสัยในเรื่องพิธีกรรมอยู่หลายประการ
จึงได้เข้าไปกราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงวิธีการบูชายัญที่ถูกต้อง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าถึงตัวอย่างการบูชายัญที่ถูกต้องดังนี้ ในอดีตกาล
มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า พระเจ้ามหาวิชิตราช เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก วันหนึ่ง ทรง
ดำริว่า เราได้ครอบครองสมบัติมนุษย์อย่างไพบูลย์แล้ว ได้ชนะข้าศึกและปกครองดินแดน
มากมาย เราพึงบูชามหายัญที่จะเป็นประโยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน จากนั้น
พระองค์จึงรับสั่งให้เรียกพราหมณ์ปุโรหิตมาแล้วตรัสว่าเราจะบูชามหายัญ ขอท่านจงชี้แจงวิธีบูชา
มหายัญแก่เรา
พราหมณ์ปุโรหิตซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ชนบทของพระองค์ยังมีเสี้ยนหนาม
ยังมีการเบียดเบียนกัน โจรปล้นบ้านก็ดี ปล้นนิคมก็ดี ปล้นเมืองก็ดี โจรทำร้ายในหนทางเปลี่ยว
ก็ดี ยังปรากฏอยู่ พระองค์ควรจะปราบโจรผู้ร้าย เพื่อให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยเสียก่อน แล้ว
ค่อยบูชามหายัญ แต่การปราบปรามโจรด้วยการประหาร จองจำ ปรับไหม ตำหนิ หรือ เนรเทศ
วิธีเช่นนี้ ไม่ชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ เพราะว่าโจรบางพวกที่เหลือจากการถูกกำจัด
จักยังมีอยู่ โจรเหล่านั้นก็จักเบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์ได้
การปราบโจรที่ต้นเหตุคือเศรษฐกิจ
จากนั้นพราหมณ์ปุโรหิตจึงกราบทูลวิธีการปราบโจรโดยชอบ ด้วยการแก้ปัญหา
ความยากจนหรือปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา โดยปุโรหิตได้ถวายคำแนะนำ
พระราชาว่า ให้ช่วยเหลือคนระดับล่าง 3 กลุ่มซึ่งขยันทำมาหากิน ดังนี้
(1) เกษตรกรคนใด ขยันทำงาน ขอพระองค์จงเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่พวกเขา
ในโอกาสอันสมควร
(2) พ่อค้าคนใด ขยันทำงาน ขอพระองค์จงเพิ่มทุนให้แก่พวกเขาในโอกาสอันสมควร
(3) ข้าราชการคนใด ขยันทำงาน ขอพระองค์จงพระราชทานเบี้ยเลี้ยง และ พระราชทาน
เงินเดือนให้แก่พวกเขาในโอกาสอันสมควร
บทที่ 6 รัฐ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 139