ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา... ทรง
สักการะ เคารพ นอบน้อมธรรม... มีธรรมเป็นใหญ่ ย่อมทรงจัดแจงการรักษา ป้องกัน คุ้มครอง
ที่เป็นธรรมในพุทธบริษัทว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ควรพูด สิ่งนี้ควรคิด การเลี้ยงชีพอย่างนี้ควรทำ
สถานที่เช่นนี้ควรไป และส่วนสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ควรทำ พูด หรือคิด เป็นต้น'
จากเนื้อหาในราชสูตรนี้จะเห็นว่า หัวใจของรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎกนั้น คือ
ธรรมาธิปไตย หมายถึง การมีธรรมเป็นใหญ่ ซึ่งใช้หลักเดียวกันทั้งการปกครองทางโลก และ
การปกครองในทางธรรม
6.5 ธรรมาธิปไตยไม่ใช่ระบอบการปกครอง
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ธรรมาธิปไตยไม่ถือว่าเป็น “ระบอบการปกครอง” ระบอบหนึ่ง
เหมือนอย่าง ระบอบประชาธิปไตย หรือ ระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ทุกระบอบการปกครองที่มีอยู่
สามารถนำธรรมาธิปไตยไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งนั้น เพราะธรรมาธิปไตยเป็นเรื่องของหลักการ
ที่ถือเอาความถูกต้องชอบธรรมเป็นใหญ่ ซึ่งจะรักษาป้องกันให้ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง
ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขไม่มีการเบียดเบียนกัน
ระบอบการปกครองในสมัยพุทธกาลและในอดีต ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมีอยู่ 2
ระบอบใหญ่ๆ คือ การปกครองโดยคนๆ เดียว และการปกครองโดยคณะบุคคล การปกครอง
โดยคนๆ เดียว หมายถึง การปกครองโดยกษัตริย์ เช่น แคว้นมคธปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสาร
แคว้นโกศลปกครองโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล แคว้นวังสะปกครองโดยพระเจ้าอุเทน หรือ หาก
เป็นการปกครองโดยคนๆ เดียวในอดีตก็ได้แก่ การปกครองของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นต้น
ส่วนการปกครองโดยคณะบุคคล เป็นการปกครองโดยคณะของเจ้าต่าง ๆ ในยุคนั้น เช่น แคว้น
วัชชี ปกครองโดยคณะเจ้าลิจฉวี และแคว้นมัลละปกครองโดยคณะเจ้ามัลละ
ระบอบการปกครองทั้ง 2 ระบอบนี้ มีอยู่แล้วในสมัยพุทธกาล ซึ่งสืบทอดมาจากใน
อดีต เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น พระองค์ไม่ได้ตรัสให้มีการเปลี่ยนแปลงตัว
ระบอบใดๆ ทั้งสิ้น แคว้นใดเคยปกครองแบบใดก็ปกครองไปเหมือนเดิม แต่สิ่งที่พระองค์สอน
คือ “ธรรม” สำหรับนำไปใช้ในการปกครองแต่ละระบอบ เช่น อปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่
เหมาะกับการปกครองโดยคณะบุคคล เช่น แคว้นวัชชีและแคว้นมัลละ ฯลฯ ส่วนธรรมที่เหมาะ
กับสำหรับการปกครองโดยกษัตริย์ ได้แก่ ทศพิธราชธรรม, จักรวรรดิวัตร ฯลฯ แต่ทั้งนี้
1 ราชสูตร, พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 133 หน้า 276.
126 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก