การโต้วาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธบริษัท GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 280
หน้าที่ 280 / 373

สรุปเนื้อหา

การโต้วาทธรรมในพระพุทธศาสนามีความสำคัญเพื่อปกป้องคำสอนและป้องกันการบิดเบือนจากผู้อื่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรถึง 2 ภารกิจหลัก คือ การฝึกพุทธบริษัทให้มีความรู้ความเห็นที่ถูกต้อง และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวาง โดยต้องมีการศึกษาปริยัติควบคู่กับการปฏิบัติ เพื่อไม่ให้คำสอนผิดพลาด และเพื่อการช่วยตัวเองและชาวโลก การย้ำถึงความสำคัญในการศึกษาธรรมะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโต้เถียง แต่เพื่อให้พุทธบริษัทมีความรู้เพียงพอในการดูแลรักษาศาสนาและช่วยเหลือกันและกันในธรรมะ.

หัวข้อประเด็น

-การโต้วาทธรรม
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-พุทธบริษัท
-การปกป้องคำสอน
-มหาปรินิพพานสูตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

9.8 การโต้วาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธบริษัท การโต้วาทธรรมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ในกรณีที่มีการจาบจ้วงคำสอนใน พระพุทธศาสนาให้เสียหาย มีการกล่าวบิดเบือนไปจากความจริง การโต้วาทธรรมจะช่วย ปกป้องพุทธธรรมไม่ให้มัวหมองได้และป้องกันความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนี้ไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า ภารกิจสำคัญที่ พระองค์จะต้องทำให้สำเร็จก่อนปรินิพพานมี 2 ประการ คือ 1) ต้องฝึกให้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาของพระองค์เป็นผู้เฉียบแหลม แกล้ว กล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว สามารถบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ 2) ต้องเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวาง แพร่หลาย เป็นปึกแผ่น คำว่า “ปรับปวาท” อ่านว่า ปะรับปะวาด หมายถึง คำกล่าวของคนพวกอื่นหรือลัทธิ อื่น, คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของคนพวกอื่น ได้แก่ การกล่าวจาบจ้วงหรือโจมตีคำสอนใน พระพุทธศาสนาโดยนักบวชต่างศาสนา เป็นต้น ภารกิจประการแรกนั้นโดยสรุปแล้วคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องฝึกพุทธบริษัททั้ง 4 ให้ถึงพร้อมด้วยปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธนั่นเอง และขอย้ำว่าจะต้องถึงพร้อมทั้ง 3 อย่าง จะ อาศัยเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ กล่าวคือ หากศึกษาเพียงปริยัติ แต่ไม่ปฏิบัติก็มีโอกาสเป็น ปริยัติงูพิษ เพียงแต่รู้จำรู้คิดแต่ไม่รู้แจ้ง มีโอกาสตีความคำสอนผิดพลาดได้ ส่วนการศึกษาปริยัติ ก็เป็นเหมือนแผนที่นำทางในการปฏิบัติธรรม และที่สำคัญหากผลการปฏิบัติธรรมของเรายัง ไม่ก้าวหน้าจนถึงระดับที่ค้นธรรมะภายในได้แล้ว ก็ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาปริยัติ คือ พระไตรปิฎกควบคู่ไปกับการปฏิบัติด้วย เราจะได้ใช้หลักธรรมในพระไตรปิฎกนำทางชีวิตไป ก่อนจนกว่าจะเข้าถึงธรรมเหล่านั้นภายในตัวได้ การที่พระพุทธองค์ประสงค์จะให้พุทธบริษัทศึกษาธรรมะให้แตกฉานนั้น พระองค์ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พุทธบริษัทอวดภูมิรู้ภูมิธรรมด้วยการไปท้าผู้อื่นโต้วาทธรรมแข่งกัน แต่พระองค์ต้องการให้พุทธบริษัทแตกฉานในธรรมะเพื่อสอนตัวเอง เพื่อโปรดชาวโลก และ เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาเป็นหลัก 1 มหาปรินิพพานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 ข้อ 102 หน้า 285. บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 269
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More