อริยทรัพย์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 214
หน้าที่ 214 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงอริยทรัพย์ในพระไตรปิฎก ซึ่งประกอบด้วย ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา โดยมีการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอริยทรัพย์กับบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ คือ ทาน ศีล และภาวนา ที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างบุญและการประพฤติปฏิบัติในพระพุทธศาสนา อริยทรัพย์ทั้ง 4 คือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา จะสามารถย่อให้เหลือ 4, 5 หรือ 7 ประการได้ตามที่ต้องการ บทความนี้ยังเน้นให้เห็นว่าธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นสัมพันธ์กันหมด ทั้งในด้านการย่อและขยายเพื่อเข้าใจในบริบทของหลักธรรมที่กว้างขวางยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-อริยทรัพย์
-บุญกิริยาวัตถุ
-ความไม่ประมาท
-ศีล
-ปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จาคะ และปัญญา และในทีฆชาณุสูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอริยทรัพย์ไว้ 4 ประการ คือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา จากที่กล่าวแล้วในบทที่ 4 ว่าธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกหมวดนั้น สัมพันธ์กันหมดและสามารถย่อหรือขยายได้ หากย่อถึงที่สุดแล้วจะเหลือเพียงข้อเดียวคือ “ความไม่ประมาท” หากขยายก็จะได้มากถึง “84,000 ข้อหรือพระธรรมขันธ์” สำหรับอริยทรัพย์ 7 นั้น หากจะย่อให้เหลือ 5 ประการก็ได้ คือ จัด “หิริ” และ “โอต- ตัปปะ” ไว้ในหมวด “ศีล” เพราะธรรมทั้งสองประการนี้เกี่ยวข้องกับการรักษาศีล ถ้าจะย่อ อริยทรัพย์ 5 ให้เหลือ 4 ประการก็ได้คือจัด “สุตะ” ไว้ในหมวด “ปัญญา” เพราะสุตะเป็นเรื่อง ของการแสวงหาความรู้เพื่อเพิ่มพูนปัญญา เป็นอันว่าอริยทรัพย์ 7 ก็ดี อริยทรัพย์ 5 ก็ดี หรือ อริยทรัพย์ 4 ก็ดี ก็ดี ก็คืออันเดียวกันเพียงแต่จะกล่าวโดยย่อหรือขยายเท่านั้น 8.2.3 ความสัมพันธ์ของอริยทรัพย์กับบุญกิริยาวัตถุ นักศึกษาหลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “บุญกิริยาวัตถุ” โดยเฉพาะบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา และมักจะได้ยินได้ฟังอยู่บ่อย ๆ ว่า บุญอันเกิดจากการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนานั้น จะเป็น “อริยทรัพย์” ติดตัวไปภพชาติเบื้องหน้า ถามว่าอริยทรัพย์ที่กล่าวมาข้างต้นกับบุญกิริยาวัตถุมีความสัมพันธ์กันอย่างไรประเด็นนี้ ก็ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้วคือ ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกหมวดนั้นสัมพันธ์กัน หมดและสามารถย่อหรือขยายได้ ในที่นี้จะนำอริยทรัพย์ 4 คือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา และบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา มาเชื่อมโยงเข้าหากันดังนี้ อริยทรัพย์ ศรัทธา บุญกิริยาวัตถุ ศรัทธา ך ศีล จาคะ ปัญญา ศีล ทาน ภาวนา ธนสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 47 หน้า 107. ทีฆชาณุสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 144 หน้า 560. บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ใน พระไตรปิฎก DOU 203
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More