ข้อความต้นฉบับในหน้า
แห่งปาราชิกสิกขาบทที่ 1 ท่านอธิบายความหมายของคำว่า “ภิกษุ” ว่ามีความหมาย 12 นัย
คือ ผู้ขอ, ผู้อาศัยการเที่ยวขอ, ผู้ใช้ผืนผ้าที่ถูกทำให้เสียราคา, ผู้ที่ถูกตั้งชื่ออย่างนั้น
ผู้ปฏิญาณตนอย่างนั้น ผู้ที่พระพุทธเจ้าบวชให้ ผู้บวชด้วยวิธีรับไตรสรณะ, ผู้เจริญ, ผู้มีแก่นสาร
ผู้ยังต้องศึกษา, ผู้ไม่ต้องศึกษา (หมายถึงผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว) และ ผู้ที่สงฆ์บวช
ให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม แล้วชี้เฉพาะความหมายที่ประสงค์ว่า คำว่า “ภิกษุ” ในสิกขาบทนี้
หมายถึงผู้ที่สงฆ์บวชให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม
คำว่า บทภาชนีย์ แปลว่า การจำแนกแยกแยะความหมายของบท เป็นการนำเอาบท
หรือคำในสิกขาบทวิภังค์มาขยายความเพิ่มเติมอีก เช่น ในปาราชิกสิกขาบทที่ 2 สิกขาบทวิภังค์
ให้นิยามคำว่า “ทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้” ไว้แล้ว บทภาชนีย์ก็ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า
“ทรัพย์ ที่อยู่ในแผ่นดิน ทรัพย์ที่อยู่บนบก ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง ทรัพย์ที่อยู่
ในน้ำ ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ทรัพย์ที่อยู่ในยาน ทรัพย์ที่นำติดตัวไปได้ เป็นต้น” จากนั้นก็อธิบายตัว
สิกขาบทอย่างละเอียดทุกคำพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
4.) อนาปัตติวาร ว่าด้วยข้อยกเว้นสำหรับบุคคลผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทโดยไม่ต้อง
อาบัติ เช่น ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 มีข้อยกเว้นไม่ปรับอาบัติปาราชิกแก่ภิกษุผู้ฆ่ามนุษย์ในกรณี
ต่อไปนี้ คือ ภิกษุไม่มีเจตนา, ภิกษุไม่รู้, ภิกษุไม่ประสงค์จะฆ่า, ภิกษุวิกลจริต, ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
ภิกษุมีจิตกระสับกระส่ายเพราะทุกขเวทนา และ ภิกษุต้นบัญญัติ
5.) วินีตวัตถุ ว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ ของภิกษุผู้กระทำการบางอย่างอันอยู่ในขอบข่ายของ
สิกขาบทนั้นๆ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงไต่สวนเอง แล้วทรงวินิจฉัยชี้ขาดว่าต้องอาบัติใด
หรือไม่ เช่น ในปาราชิกสิกขาบทที่ 3 มีเรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาดรวม 103 เรื่อง เมื่อเปรียบกับ
กฎหมายทางโลกแล้ว ก็เป็นเสมือนคือพิพากษาศาลฎีกา อันเป็นแนวทางการพิจารณาว่า การ
กระทำใดผิดหรือไม่ชัดเจนยิ่งขึ้น
จะเห็นว่าสิกขาบทแต่ละข้อที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นนั้น มีการแจกแจงราย
ละเอียดชัดเจนมาก ทั้งนี้เพื่อให้พระภิกษุทุกรูปเข้าใจแจ่มแจ้งในทุกแง่มุม ไม่มีความคลุมเครือ
ส่งผลให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องเสมอเหมือนกันทั้งหมู่คณะ
172 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก