ข้อความต้นฉบับในหน้า
การทดลองการแผ่เมตาให้ต้น ไม้
การ บทท 77 วิทยาอย
นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก
7.1 ภาพรวมนิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มควบคุม
นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎกนั้นกล่าวถึง “พระวินัยหรือศีล” ของพระภิกษุเป็นหลัก โดย
เฉพาะพระวินัย 227 สิกขาบท อันมีมาในพระปาฏิโมกข์ เพราะเป็นกฎระเบียบสำหรับควบคุม
ความประพฤติทางกายและวาจาของพระภิกษุให้เรียบร้อย ซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กับกฎหมาย
ในทางโลกอันเป็นกฎที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม
พระวินัยแต่ละสิกขาบทนั้นมีการแจงแจงรายละเอียดอย่างชัดเจนว่า คำแต่ละคำที่เป็น
พุทธบัญญัตินั้นมีความหมายอย่างไรได้บ้าง และชี้ชัดว่ามุ่งถึงความหมายใดเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้
พระภิกษุมีความเข้าใจอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือ ส่งผลให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้
ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของพระวินัยก็คือพระภิกษุทุกรูปจะต้องเข้าร่วมประชุมทบทวนพระ
วินัยทุก 15 วัน เพื่อให้จำได้อย่างแม่นยำ ซึ่งต่างกับกฎหมายทางโลกที่ไม่มีระบบการศึกษา
ทบทวนอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ แต่ละประเทศจึงมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่รู้กฎหมาย
สิกขาบททั้ง 227 ข้อ รวมทั้งสิกขาบทปลีกย่อยอื่น ๆ นั้นเป็นพุทธบัญญัติทั้งสิ้น กล่าว
คือ เมื่อมีเหตุที่ไม่เหมาะสมจากการกระทำของพระภิกษุเกิดขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะทรง
เรียกประชุมสงฆ์ สอบถามเรื่องราว ตำหนิผู้กระทำความผิด แจกแจงให้ทราบว่าการกระทำนั้น
ไม่เหมาะสม มีโทษอย่างไร แล้วทรงบัญญัติพระวินัยขึ้น ห้ามมิให้พระภิกษุกระทำพฤติกรรมอย่าง
นั้นอีก พร้อมกำหนดโทษว่า หากภิกษุรูปใดฝืนไปกระทำ จะมีโทษอย่างไร ส่วนภิกษุที่เป็นเหตุ
ต้นบัญญัตินั้นถือว่ายังไม่ต้องรับโทษ เพราะในขณะกระทำการนั้นยังไม่มีบทบัญญัติห้าม
พระองค์ไม่ปรับความผิดย้อนหลัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นทีละข้อตาม
เหตุที่เกิดขึ้นอย่างนี้ ส่วนพระสาวกเป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติตามเท่านั้น ซึ่งต่างกับการบัญญัติ
กฎหมายในทางโลกที่จะมีการประชุมระดมความคิดกันจากนักกฎหมายจำนวนมาก และนำ
เสนอเพื่ออนุมัติจากรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบก็สามารถนำกฎหมายนั้นๆ มาบังคับใช้ได้
เหตุที่สิกขาบททุกข้อเป็นพุทธบัญญัติล้วนทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นกรอบแห่งความ
162 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก