เป้าหมายชีวิตของมนุษย์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 122
หน้าที่ 122 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ตามพระไตรปิฎกซึ่งมี 3 ระดับ ได้แก่ เป้าหมายชีวิตในชาตินี้, เป้าหมายชีวิตในชาติหน้า และเป้าหมายชีวิตในภพชาติสุดท้าย โดยเน้นความสำคัญของการสร้างตัวและฐานะที่มั่นคงร่วมกับการสร้างศีลธรรมและบุญกุศล เพื่อเป็นทุนในการเกิดใหม่ในชาติถัดไป หลักการนี้เน้นว่าชีวิตมีความหมายมากกว่าการหาประโยชน์ในชาตินี้เพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องมีมุมมองที่กว้างขวางถึงผลระยะยาวในชาติหน้า

หัวข้อประเด็น

- เป้าหมายชีวิตในชาตินี้
- เป้าหมายชีวิตในชาติหน้า
- การสร้างฐานะและศีลธรรม
- อานิสงส์ของการสร้างบุญ
- การมีชีวิตที่มีคุณค่า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทันทีแล้วจะเป็นอย่างไร เช่น ทันทีที่พูดโกหกฟันก็ร่วงในขณะนั้น ซึ่งคงไม่มีใครต้องการให้เป็น เช่นนี้ และถ้าเป็นอย่างนี้จริงชาวโลกจำนวนมากในปัจจุบันคงไม่มีฟันเหลืออยู่ในปากแล้ว 5.8 เป้าหมายชีวิตของมนุษย์ เป้าหมายชีวิตของมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้นมีอยู่ 3 ระดับ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ โดย ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึง เป้าหมายชีวิตในชาตินี้ หรือ เป้าหมายชีวิตในระดับต้น สัมปรายิกัตถประโยชน์ หมายถึง เป้าหมายชีวิตในชาติหน้า หรือ เป้าหมายชีวิตในระดับกลาง ส่วนปรมัตถประโยชน์ หมายถึงเป้าหมายชีวิตในภพชาติสุดท้าย หรือเป้าหมายชีวิตในระดับสูงสุด 1.) เป้าหมายชีวิตระดับต้น คือ การสร้างตัวสร้างฐานะให้มั่นคงได้ในชาตินี้ ความสำคัญของการสร้างตัวอยู่ตรงที่ มีคุณสมบัติของผู้ครองเรือนที่ดี และการสร้างฐานะอยู่ที่การมีอาชีพการงานมั่นคง สุจริต ไม่ ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม จะเป็นอาชีพอะไรก็ตามความถนัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ แพทย์ ครู พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่ เมื่อตั้งเป้าหมายชีวิตแล้ว ก็มุ่งมั่นฝึกฝนตนเองสร้างตัวสร้าง ฐานะให้บรรลุเป้าหมายชีวิตระดับต้นให้ได้ โดยมีหลักการว่า “ต้องสร้างตัวสร้างฐานะไปพร้อม กับการสร้างศีลธรรมในตน” เพื่อให้เส้นทางชีวิตในชาตินี้ของตน ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใคร และ ยังทำประโยชน์ใหญ่ให้แก่ผู้อื่นที่ยังลืมตาอ้าปากไม่ได้ในสังคมอีกด้วย 2.) เป้าหมายชีวิตระดับกลาง คือ การตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อประโยชน์ในชาติหน้าว่า นอกจากจะพยายามตั้งฐานะ ของตนให้ได้แล้ว ก็จะตั้งใจสร้างบุญกุศลอย่างเต็มที่ในทุกๆ โอกาสที่อำนวยให้เพื่อสะสมเป็นทุน เป็นเสบียงในภพชาติต่อไป เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วไม่สูญ ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลส ก็ ยังต้องเกิดใหม่เรื่อยๆ ต่อไปอีก และขุมทรัพย์อย่างเดียวที่คนเราจะนำติดตัวไปสร้างความเจริญ ในภพชาติใหม่ได้ ก็คือ “บุญ” เท่านั้น แต่เพราะบางคนขาดความเข้าใจความจริงในเรื่องนี้ จึง คิดแต่จะหาประโยชน์เฉพาะในชาตินี้ โดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ในชาติหน้า ตั้งใจเพียงสร้าง ฐานะได้เท่านั้น ไม่สนใจสร้างบุญสร้างกุศล ชีวิตจะมีคุณค่าสักเพียงใด หากพิจารณาดูให้ดีก็ ไม่ต่างไปจากนกกา ที่โตขึ้นมาก็ทำมาหากินเลี้ยงตัว แล้วก็แก่เฒ่าตายไปเหมือนกัน แต่ชีวิต ของคนมีร่างกายที่เหมาะกับการสั่งสมคุณความดีมากที่สุด เมื่อสามารถสร้างตัวสร้างฐานะได้ * ปุณณกมาณวกปัญหานิเทศ, ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส, มก. เล่ม 67 ข้อ 122 หน้า 72. บทที่ 5 ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 111
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More