ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรรมดีและกรรมชั่วในมนุษย์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 94
หน้าที่ 94 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความพูดถึงนิสัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว การบ่มเพาะนิสัยที่ดีเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตใน 5 ห้อง ได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องแต่งตัว และห้องทำงาน นอกจากนี้ยังเน้นบทบาทของการทำบุญและผลของกรรมในชีวิต โดยเมื่อทำกรรมดี ชีวิตจะเจริญรุ่งเรือง แต่หากทำกรรมชั่ว จะส่งผลร้ายในชาตินี้และชาติหน้า การเกิดเป็นมนุษย์จึงมีความสำคัญต่อการสร้างบุญบารมีที่มีคุณค่า

หัวข้อประเด็น

-ปัจจัยในการทำกรรมดี
-นิสัยและพฤติกรรม
-การบ่มเพาะนิสัยที่ดี
-ผลของกรรมในชีวิต
-ความสำคัญของการเกิดเป็นมนุษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ทำกรรมดีหรือชั่วอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลให้เกิดบุญหรือ บาปสั่งสมอยู่ในใจในปริมาณมากๆ คือ “นิสัย” อันเป็นความประพฤติที่เคยชิน หากมีนิสัยที่ดี ก็เป็นเหตุให้ทำกรรมดีอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดบุญอย่างต่อเนื่อง หากมีนิสัยชั่วก็เป็นเหตุให้ ทำกรรมชั่วอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดบาปอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยนิสัยนั้นถูกบ่มเพาะขึ้นจาก 5 ห้อง ที่เราใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน คือ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องแต่งตัว และห้องทำงาน ด้วยเหตุนี้หากเราต้องการบ่มเพาะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้นก็ต้องมีวิธีการใช้ห้องและวิธีบริหารจัดการ ห้องทั้ง 5 ที่ถูกต้องเพื่อให้เป็นไปเพื่อการบ่มเพาะนิสัยที่ดีล้วนๆ วิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้นขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำ กล่าวคือ หากทำความชั่ว ทำสิ่งที่เป็น อกุศล ก็จะทำให้ชีวิตตกต่ำทั้งในชาตินี้และชาติหน้า คือ เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสู่อบายภูมิ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และ สัตว์ดิรัจฉาน ถ้าทำกรรมดี คือ สร้างบุญกุศลมากๆ ชีวิตก็จะ เจริญรุ่งเรือง จะประสบความสำเร็จทั้งในชาตินี้ ละโลกไปแล้วก็จะไปสู่สุคติ และเมื่อสั่งสมบุญ มากเข้าจนบุญในตัวกลั่นเป็นบารมีที่เต็มเปี่ยมแล้ว ก็จะขจัดกิเลสในตัวได้หมดสิ้นบรรลุพระ นิพพานอันเป็นเป้าหมายชีวิตสูงสุดของมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย การได้เกิดเป็นมนุษย์มีความสำคัญมากในฐานะที่สร้างบุญบารมีได้มากและสะดวกที่สุด แม้เกิดเป็นเทวดาก็สร้างบุญบารมีได้ไม่สะดวกเหมือนมนุษย์ เพราะเทวดาเป็นกายละเอียด เป็นช่วงการเสวยผลบุญ สามารถสร้างความดีได้เหมือนกัน แต่ผลจะไม่แรงเหมือนมนุษย์ซึ่ง เป็นกายหยาบ ดังจะเห็นได้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์จะตรัสรู้ธรรมในสภาวะเป็น กายมนุษย์เท่านั้น ชาวสวรรค์อยู่ได้ด้วยอำนาจบุญของตัวเองทิพยสมบัติเกิดขึ้นด้วยบุญที่ตนทำในสมัยเป็น มนุษย์ เทวดาทั้งหลายจึงไม่อาจจะแบ่งทิพยสมบัติของตนเพื่อให้ทานแก่เทวดาท่านอื่นได้ เพราะเป็นของเฉพาะตน สำหรับสัตว์ดิรัจฉาน และ สัตว์นรก ยิ่งสร้างบุญบารมียากเข้าไปอีก เพราะกำลังเสวยวิบากกรรมชั่วที่เคยทำไว้สมัยเป็นมนุษย์ แม้แต่คำว่าบุญยังแทบไม่รู้จักด้วยซ้ำไป ในบทนี้จะไม่มีการเปรียบเทียบเนื้อหากับศาสตร์ทางโลก เพราะว่าหลักคำสอนใน พระพุทธศาสนาจัดอยู่ในหมวดวิชามนุษยศาสตร์อยู่แล้ว บทที่ 5 ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 83
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More