การดูแลและรักษาสุขภาพในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 326
หน้าที่ 326 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงแนวคิดการดูแลสุขภาพในพระไตรปิฎกที่เน้นการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ การรักษาสุขภาพในสองด้านนี้มีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ธรรมโอสถคือ 'บุญ' เพื่อหล่อเลี้ยงจิตใจให้บริสุทธิ์ บทความยังมุ่งหวังให้นักศึกษาเข้าใจหลักการแพทยศาสตร์ในบริบทของพระไตรปิฎกและเปรียบเทียบกับการแพทย์ในยุคปัจจุบัน

หัวข้อประเด็น

-การดูแลสุขภาพ
-การรักษาสุขภาพ
-พระไตรปิฎก
-ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. การดูแลสุขภาพ หมายถึง การดูแลร่างกายและจิตใจให้อยู่ในภาวะปกติคือ แข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ต่างกับการรักษาสุขภาพ ซึ่งหมายถึง การเยียวยารักษาสุขภาพที่ไม่อยู่ใน ภาวะปกติอันเกิดจากการเจ็บป่วยให้กลับสู่ภาวะปกติคือหายป่วย 2. หลักสำคัญในการดูแลและรักษาสุขภาพในพระไตรปิฎก คือ ต้องดูแลและรักษาทั้ง ร่างกายและจิตใจ เพราะมนุษย์ประกอบขึ้นจากร่างกายและจิตใจ ซึ่งสัมพันธ์กัน ส่งผลกระทบ ต่อกันและกัน ดังนั้นจึงต้องดูแลรักษาทั้งสองส่วนนี้ไปพร้อมๆ กัน 3. การดูแลและรักษาสุขภาพในพระไตรปิฎกนั้นในทางร่างกายก็มีหลักการและวิธีการ คล้ายๆ กับการแพทย์ยุคปัจจุบัน ส่วนการดูแลและรักษาด้านจิตใจนั้น จะใช้ธรรมโอสถคือ “บุญ” เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงรักษาให้จิตใจมีความบริสุทธิ์ ผ่องใส และสว่างไสว วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกดังนี้ คือ การ ดูแลสุขภาพในพระไตรปิฎก, การรักษาสุขภาพในพระไตรปิฎก และสามารถเปรียบเทียบกับ หลักการแพทย์ในยุคปัจจุบันได้ บ ท ที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 315
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More