ข้อความต้นฉบับในหน้า
4.) ปฏิญญาตกรณะ คือ การระงับอธิกรณ์ตามคำรับสารภาพของจำเลย
5.) ตัสสปาปิยฬิกา คือ การระงับอธิกรณ์โดยการลงโทษแก่ผู้ทำผิด
6.) เยฮุยยสิกา คือ การระงับอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก โดยเสียงข้างมากในที่นี้จะต้อง
เป็นเสียงข้างมากของภิกษุธรรมวาทีเท่านั้น ธรรมวาที คือ ผู้มีปกติกล่าวธรรม หรือ ผู้พูดถูก
ต้องตรงตามหลักธรรม
7.) ติณวัตถารกวินัย คือ การระงับอธิกรณ์โดยการประนีประนอม ใช้ในกรณีที่เป็นเรื่อง
ร้ายแรง หากระงับอธิกรณ์โดยตัดสินให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดอาจทำให้สงฆ์แตกแยกได้ แต่ยกเว้น
อาบัติที่มีโทษหนักและอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ตัวอย่างการระงับอธิกรณ์ด้วยอธิกรณสมถะ
การระงับอธิกรณ์ด้วยอธิกรณสมถะมีกรณีศึกษาจำนวนมากในที่นี้จะยกมาเพียง 1
ตัวอย่าง คือ การระงับวิวาทาธิกรณ์คือการวิวาทกันเรื่องพระธรรมวินัยดังนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าวิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ 2 คือ สัมมุขาวินัยและเยฮุยย
สิกา ในบางกรณีอาศัยสัมมุขาวินัยเพียงอย่างเดียวก็สามารถระงับอธิกรณ์ได้ แต่บางกรณีต้อง
ใช้ทั้งสัมมุขาวินัยและเยฮุยยสิกา จึงสามารถระงับอธิกรณ์ได้
1.) การระงับอธิกรณ์ด้วยสัมมุขาวินัย
เมื่อภิกษุวิวาทกันเรื่อง “พระธรรมวินัย” ก็ให้ระงับด้วยสัมมุขาวินัยก่อน คือ การระงับ
ในที่พร้อมหน้า 4 อย่างคือพร้อมหน้าสงฆ์, ธรรม, บุคคล และวัตถุ โดยลำดับแรกให้ภิกษุที่
เกี่ยวข้องทั้งหมดประชุมกัน เมื่อประชุมกันแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ เมื่อพิจารณาแล้วจึงให้
อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้
ธรรมเนติ มาจากคำว่า “ธรรม + เนติ” คำว่า “เนติ” เป็นคำเดียวกับ “นิติ” ในคำว่า
นิติศาสตร์ เนติ หมายถึง แบบแผน ขนบธรรมเนียม กฎหมาย เครื่องแนะนำ อุบายอันดี การ
พิจารณาธรรมเนติ ในที่นี้หมายถึง การพิจารณาหัวข้อพระธรรมวินัยที่ภิกษุวิวาทกัน คล้ายๆ
กับการพิจารณาคดีของผู้พิพากษา ทนายความ หรือนักกฎหมายในทางโลก
ประโยคที่ว่า “เมื่อพิจารณาแล้วจึงให้อธิกรณ์นั้นระงับ โดยอาการที่เรื่องในธรรมเนติ
นั้นลงกันได้” หมายถึง การที่คณะสงฆ์ประชุมกันระงับอธิกรณ์ด้วยการตัดสินว่าฝ่ายไหนถูก
1 ราชบัณฑิตยสถาน (2525). “พจนานุกรม (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์)”
บ ท ที่
7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 189