ข้อความต้นฉบับในหน้า
แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนเป็นหลัก
ในส่วนของอำนาจตุลาการของแคว้นวัชชีนั้นยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือ มีการแบ่ง
อำนาจออกเป็นชั้นๆ คล้ายๆ กับอำนาจตุลาการปัจจุบันที่มีแบ่งเป็น ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์
และศาลฎีกา นอกจากนี้ยังมีศาลย่อยอื่น ๆ อีกหลายศาล ในอำนาจตุลาการของแคว้นวัชชีนั้น
มีการแบ่งออกเป็น 7 ชั้น คือ มหาอำมาตย์ฝ่ายสอบสวน, มหาอำมาตย์ฝ่ายผู้พิพากษา, มหา
อำมาตย์ฝ่ายที่ชื่อว่าลูกขุน, มหาอำมาตย์ 8 ตระกูล, เสนาบดี, อุปราช และ พระราชา
บางคดีก็สิ้นสุดที่มหาอำมาตย์ฝ่ายสอบสวน กล่าวคือ หากฝ่ายนี้สอบสวนจำเลยแล้ว
พบว่า “บริสุทธิ์” ก็จะปล่อยตัวไป แต่ถ้าสอบสวนแล้วมีข้อมูลที่บ่งบอกว่า “จำเลยผิดจริง” ก็จะ
ส่งจำเลยไปในฝ่ายที่สูงขึ้นตามลำดับจนถึงพระราชา หากพระราชาสอบสวนแล้วพบว่าจำเลย
ผิดจริง ก็จะโปรดให้เจ้าหน้าที่อ่านคัมภีร์กฎหมายประเพณี ในคัมภีร์กฎหมายประเพณีนั้น
เขียนไว้ว่า ผู้ใดทำความผิดชื่อนี้ผู้นั้นจะต้องมีโทษชื่อนี้ พระราชาก็ทรงนำการกระทำของผู้นั้น
มาเทียบกับตัวบทกฎหมายนั้นแล้ว ทรงลงโทษตามสมควรแก่ความผิดนั้น
ประเด็นนี้มีข้อสังเกตว่า พระราชาซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายบริหารนั้น ก็ต้องทำหน้าที่ฝ่าย
ตุลาการด้วยในกรณีที่ “คดีความ” บางคดีไม่อาจจะระงับได้ในกระบวนการยุติธรรม ชั้นต้น ซึ่ง
ประเด็นนี้ ก็แตกต่างจากระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ที่ผู้นำฝ่ายบริหารได้แก่ นายกรัฐมนตรี
เป็นต้น จะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการตัดสินคดีความเลย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า มีทั้งส่วนที่เหมือนกัน คล้ายกัน และแตกต่างกันอยู่
หลายประการ โดยข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือ แคว้นวัชชียึดหลักธรรม ได้แก่ อปริหานิยธรรม
เป็นต้น เป็นหัวใจสำคัญในการปกครองประเทศ แต่ระบอบประชาธิปไตยนั้น ยึดรัฐธรรมนูญที่
คนซึ่งยังมีกิเลสอยู่ช่วยกันร่างขึ้นเป็นกฎหมายสูงสุดเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ
จุดอ่อนของประชาธิปไตยและแนวทางแก้ไข
หากผู้ปกครองเป็นคนดี มีความสามารถ ระบบการปกครองแบบเผด็จการไม่ว่าจะ
เป็นโดยบุคคล เช่น ระบอบราชาธิปไตย หรือ โดยหมู่คณะ เช่น ระบอบสังคมนิยม จะสามารถ
ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของสังคมได้เร็วที่สุด แต่มีความเสี่ยงสูง เพราะคนเรา
เมื่อยังไม่หมดกิเลส การมีอำนาจสิทธิ์ขาดโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้มีแนวโน้มการใช้อำนาจใน
ทางมิชอบสูงไปด้วย และหากเป็นอย่างนั้น จะสร้างความเสียหายแก่สังคมได้อย่างมหาศาล
ในสภาพสังคมโลกปัจจุบันระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นการปกครองที่ใช้อำนาจอธิปไตย
บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 155