ข้อความต้นฉบับในหน้า
1) ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
สัปปายะ แปลว่า สบาย ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ หมายถึง ทำในสิ่งที่ทำให้มีความสบาย
ต่อสุขภาพของตนเอง สัปปายะมี 7 ประการ ได้แก่ อาวาส, โคจร, การสนทนา, บุคคล, โภชนะ,
ฤดู และ อิริยาบถ สัปปายะทั้ง 7 ประการนี้เป็นเครื่องสนับสนุนให้การเจริญ “สมถวิปัสสนา”
มีความก้าวหน้า ส่วนสัปปายะที่มีผลโดยตรงต่อการดูแลสุขภาพนั้นมี 4 ประการ คือ อาวาส,
โภชนะ, ฤดู และ อิริยาบถ
อาวาส แปลว่า ที่อยู่อาศัย อาวาสเป็นที่สบายต่อสุขภาพ หมายถึง อาวาสที่มีสิ่งแวดล้อม
ดี มีอากาศบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะเป็นพิษ ไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป เป็นต้น การได้อยู่ใน
อาวาสเช่นนี้ก็จะทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและอายุยืน
โภชนะ แปลว่า อาหาร อาหารเป็นที่สบายต่อสุขภาพ หมายถึง อาหารที่มีประโยชน์ มี
คุณค่าทางอาหารครบถ้วน และ ปลอดจากสารพิษ เป็นต้น
ฤดู หมายถึง ภูมิอากาศในแต่ละช่วงของปี โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว
และฤดูร้อน ฤดูนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะ
ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงฤดู หากร่างกายปรับตัวไม่ทันก็อาจจะเจ็บป่วย หรือ ถึงขั้นเสีย
ชีวิตได้ เหตุที่ช่วงเปลี่ยนฤดู มีคนไม่สบายมาก ส่วนใหญ่เป็นเพราะไม่ได้ปรับความเป็นอยู่ให้
ทันกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป เช่น ในหน้าร้อน ก็ใส่เสื้อบางเบา กลางคืนก็ไม่ห่มผ้าหรือห่ม
ผ้าห่มผืนบาง พอวันไหนมีอากาศหนาวขึ้นมาทันทีทันใด อุณหภูมิอาจลดลง 5-10 องศา แต่
ยังเคยชินกับการใส่เสื้อผ้าบาง ห่มผ้าผืนบางอยู่ ก็มีโอกาสไม่สบายสูง เป็นต้น
อิริยาบถ หมายถึง อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถ
นั้นก็มีความสำคัญต่อสุขภาพมากในแต่ละวันเราจะต้องผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอให้เกิด
ความสมดุลกันเลือดลมในตัวจึงจะไหลเวียนได้สะดวกไม่เกิดการเมื่อยล้าเพราะอยู่ในอิริยาบถใด
อิริยาบถหนึ่งนานเกินไป ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยได้ ในอรรถกถาอธิบายไว้ว่าพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจากอิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือ
ยังทรงอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม
อรรถกถามหาสุญญตาสูตร, ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก.เล่ม 23 หน้า 33.
อรรถกถามูลปริยายสูตร, ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 หน้า 35.
318 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก